นักวิชาการชี้การศึกษาไทย เน้นชื่อเสียงภาพลักษณ์มากกว่าคุณภาพนักเรียน แนะยกเลิกระบบGPA พบครูทั้งประเทศมุ่งทำผลงานงบสูงถึง 1.8 พันล้านต่อครั้ง

ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นักวิชาการ ตำแหน่งรองประธาน ควบผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยภายในงานยกเครื่องการศึกษาไทยสู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั้วถึง ในหัวข้อ”ระบบการบริหารและการเงิน เพื่อสร้างความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา” ว่า การประเมินคุณค่าโรงเรียนในปัจจุบัน มีปัญหาสำคัญ เพราะตัวชี้วัดส่วนใหญ่ ไม่ได้วัดจากผลสัมฤทธิ์นักเรียนอย่างแท้จริง และไม่ช่วยสร้างระดับการศึกษาอย่างที่ควรจะเป็น นอกจากนี้การประเมินคุรภาพโรงเรียนสร้างภาระให้กับครู

ซึ่งจากการศึกษาพบว่าครูเตรียมเอกสาร มากกว่าเตรียมการเรียนการสอน โดยพบว่างบประมานที่ครูต้องเตรียมเอกสารทั้งประเทศสูงถึง 1.8 พันล้านบ้านต่อรอบ และเสียเวลาการทำงาน โดย 83%ของครูที่ทำงาน เป็นงานธุรการ 20% ของเวลางาน และ 10% ของครูที่ทำงานเป็นงานธุรการ 50%ของครูที่ทำงาน
สำหรับการวัดมาตรฐานการสอบของนักเรียนในหลายระดับ เช่น O-NET และ NT ยังไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีการเปิดเผยคะแนนอย่างแท้จริง ทั้งนี้พบว่าการสอนมุ่งเน้นที่การท่องจำเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย มากกว่าที่จะทำความเข้าใจในบทเรียน รวมถึงผลการสอบไม่เป็นทำ และการกีดกันนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ เพื่อรักษภาพลักษณ์ของโรงเรียน โดยข้อเสนอแนะ ให้เลิกใช้การวัดระดับ GPA เพราะจะเป็นแรงจูงใจให้ปล่อยเกรดเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย รวมถึงใช้การชี้วัดขององค์กรต่างประเทศในการสอบ TIMSS PISA

ด้านอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ กล่าวว่า การเมืองเข้ามาอยู่ในการศึกษาไทยมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลียนแปลงนโยบายการพัฒนาการศึกษา ทำให้ไม่มีเสถียรภาพหรือเป้าหมายที่ชัดเจน ส่งผลให้ครูสับสน “กระทรวงศึกษากลายเป็นกระทรวงเกรดซี รัฐมนตรีส่วนใหญ่ไม่ได้อยากมาเป็น แต่มาเพื่อตำแหน่งทางการเมือง” นอกจากนี้สัดส่วนความเหลื่อมล้ำของโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนเอกชนกับโรงเรียนรัฐบาลมีมากขึ้น ส่งผลทำให้มีผลคอรัปชั่นในโรงเรียนสูงขึ้น เช่นมีนักเรียนต้องการเข้า 100 คน แต่สามารถรับได้ 30 คน โดยผู้ปกครองจะต้องทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ลูกหลานได้เข้าไปยังโรงเรียนนั้น

แสดงความคิดผ่าน Facebook