ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียศึกษาวิจัยพบว่า เด็กนักเรียนตามนครใหญ่ๆของเอเชีย พากันเป็นโรคสายตาสั้นกันมากถึงร้อยละ 90 เนื่องจากไม่ค่อยได้ถูกแดด มัวแต่คร่ำเคร่งกับตำราและจอคอมพิวเตอร์อยู่แต่ในร่ม

วารสารการแพทย์ “แลนเซต” แจ้งว่า นักวิทยาศาสตร์เมืองจิงโจ้ เล่าว่า เด็กนักเรียนชั้นประถมของสิงคโปร์ พอโตขึ้นหน่อย จะพากันสายตาสั้นถึง 9 ใน 10 เพราะแต่ละวันได้ออกไปข้างนอก เพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้น เมื่อเทียบกับเด็กออสเตรเลีย ที่ได้ออกไปตากแดดนานถึง 3 ชม. และแอฟริกาแทบจะไม่มีใครสายตาสั้นเลย
เป็นที่เชื่อกันว่า แสงแดดจ้า จะช่วยกระตุ้นให้ผลิตสารโดพามีน ซึ่งช่วยป้องกันสายตาสั้น เพราะทำให้ลูกตาดำไม่ถูกยืดขยายจนเกินไป ทำแสงที่เข้าไปในตาผิดรูปไป เด็กตามเมืองใหญ่ของเอเชีย ที่เป็นสายตาสั้นกันมาก ได้แก่ เด็กตามเมืองในจีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์และเกาหลีใต้

นัก วิจัยเอียน มอร์แกน  เผยว่า “สาเหตุใหญ่ที่เด็กในเอเชียตะวันออกพากันสายตาสั้นกันมาก เป็นเพราะสิ่งแวดล้อมไม่ใช่กรรมพันธุ์” และย้ำว่า ไม่ใช่เป็นเพราะเรียนหนัก แต่ควรออกมานอกบ้านนอกอาคารเสียบ้าง  มีเด็กคนอื่นถมถืดไปที่เรียนก็หนัก และเล่นหนักด้วยเหมือนกัน ก็ไม่เป็นอะไร.

อ้างอิงจากไทยรัฐออนไลน์

แสดงความคิดผ่าน Facebook