ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

แนวทางการวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัยหรือการวิพากษ์งานวิจัย

ขอนำเสนอแนวทางการวิพากษ์งานวิจัย จากที่ได้อ่านผ่านๆมา เพื่อเป็นแนวทางให้กับตัวเองและผู้ที่สนใจ ในการนำไปปฏิบัติเพื่อจะได้ไม่หลงทางในการวิพากษ์ และผู้ที่จะนำเสนองานวิจัยจะได้ปรับปรุงให้เหมาะสมเป็นแนวทางในการวิพากษ์งานของตนเองด้วย เพราะถ้าจะพูดไปก็น้อยคนที่จะรับฟังเหตุผล ส่วนใหญ่ก็มั่นใจในความคิดของตัวเองซึ่งแน่นอนทุกคนก็มีความรู้ความสามารถของตนเอง แต่หนีไม่พ้นพฤติกรรมของคนซึ่งใส่ความคิดเห็นส่วนตัวจากความรู้สึก ไม่ใช้เหตุและผล จนบางครั้งกลายเป็นการจับผิด หรือแสดงศักยภาพว่าข้าคือผู้รู้จริงในเรื่องของหลักวิชาการ ซึ่งผมก็อยากจะบอกว่า คนทั้งประเทศหละครับเก่งกันทุกคน เพราะทุกคนมีการศึกษาไม่ว่าระดับ แต่เก่งกันคนละด้าน และหากมีแต่การศึกษาแต่ไร้ประสบการณ์ ก็หาจะประสบความสำเร็จไม่ ทว่าหากมีความรู้นำมาประยุกต์ใช้กับประสบการณ์ ก็จะเป็นอะไรที่สมบูรณ์มาก สามารถแก้ปัญหาและประยุกต์ให้เข้ากับงานที่ปฏิบัติได้ก็จะดีมาก แต่ปัจจุบันคนที่มีการศึกษา หาใช้ความรู้และปัญญามาแก้ไขปัญหาการศึกษา มีแต่จะแข่งขันกันเก่งทั้งนั้น (สำหรับผมขอใช้คำว่า “การศึกษาคือการโชว์ออฟ” เพราะเห็นวงการศึกษาทีไร มีแต่จะโชว์ กันทุกที) ตอนนี้คนเก่งมีล้นประเทศแล้ว (พอแล้ว) หาคนมีความสามารถที่มีคุณธรรมบ้าง และมีความยุติธรรม เสียสละเพื่อส่วนรวม และองค์กรบ้าง

ก็ขอรวบรวมและสรุปปานกลาง ว่าแนวทางการวิพากษ์งานวิจัย ควรเสนอแนะด้านใดบ้าง ไม่ใช่หาที่ผิดตรงไหนบ้าง ปัจจุบันการศึกษาไม่มีการสร้างสรรค์ มีแต่การแข่งขันที่ไร้ประสิทธิภาพ ไม่ต้องอ้างนักวิชาการคนไหนหรืออาจารย์มหาลัยท่านใด ผมพูดเองคิดเอง ก็มีความคิดเหมือนกัน ไม่ใช่ท่านเหล่านั้นจะคิดเป็นคนเดียว ขอคิดบ้าง พูดบ้างก่อนที่จะไม่มีโอกาสได้พูด เพราะความคิดผมไม่มีใครเอาไปอ้างอิงอยู่แล้ว (อย่างนี้แล้วใครจะกล้าคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ)

ประเด็นแรก คือ
ชื่อเรื่องงานวิจัย สิ่งที่ต้องพิจารณาและสังเกตคือ

1.  สะท้อนให้เห็นถึงเรื่องที่ทำวิจัยหรือไม่ หรือวิพากษ์โดยพิจารณาว่ามีองค์ประกอบ  4  ประการตามแนว  SOSE  หรือไม่  คือ เรื่องที่จะวิจัย  (Subject)     สิ่งหรือผู้ที่ถูกวิจัยหรือกลุ่มตัวอย่าง  (Object)  เช่น  นักเรียน  เครื่องมือ  หรือต้นแบบชิ้นงานวิจัย  สถานการณ์  บริบท  หรือสภาพแวดล้อมที่จะวิจัย  (Setting)  ได้แก่  ห้องเรียน โรงเรียน  และผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัย  (Effects)  เช่น  ประสิทธิภาพ  ผลสัมฤทธิ์ เป็นต้น
2. ข้อความกระชับหรือไม่
3. มีการระบุตัวแปรที่สำคัญหรือไม่
4. มีการระบุประชากรที่ศึกษาหรือไม่
5. มีการระบุสถานที่ศึกษาหรือไม่
6. สะท้อนแนวทางวิธีการศึกษาและวิเคราะห์หรือไม่

บทคัดย่อ Abstract
1. มีการกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธี ผลการวิจัย และให้ข้อเสนอแนะหรือไม่
2. มีจำนวนคำและความยาวที่เหมาะสมหรือไม่
3. กระชับและชัดเจนหรือไม่
4. สะท้อนเรื่องที่ศึกษาหรือไม่

ปัญหาการวิจัย Research Problem
1. ปัญหาการวิจัยมีเขียนไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ มีการกล่าวถึงในส่วนเริ่มต้นของรายงานวิจัยหรือไม่ มีการเขียนแบบข้อคำถาม หรือเป็นประโยคบอกเล่า
2. มีข้อสนับสนุนความเป็นมาความสำคัญหรือความรุ่นแรงของปัญหาหรือไม่
3. มีการกล่าวถึงงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และมีการชี้ให้เห็นไม่ว่างานวิจัยนี้ เหมือนหรือต่างจากเรื่องอื่นอย่างไร หรืองานงานวิจัยนี้จะเติมช่องว่างของความรู้ได้อย่างไร
4. มีการระบุตัวแปรหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่จะศึกษาหรือไม่
5. มีการระบุธรรมชาติของประชากรที่ศึกษาหรือไม่
6. มีการมองปัยหาภายใต้บริบทของกรอบแนวคิดทฤษฏีที่เหมาะสมหรือไม่
7. ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการศึกษาปัญหานี้มีความสำคัญอย่างไรต่อการปฏิบัติการพยาบาล การสร้างองค์ความรู้หรือประเด็นอื่น
8. มีความสอดคล้องของคำถามงานวิจัยและ/หรือสมมติฐานงานวิจัย กับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

โดยพิจารณาดูว่ามีความชัดเจนมากน้อยเพียงใด ความสำคัญของปัญหาอยู่ในขอบเขตของหัวข้อเรื่องหรือไม่ ผู้วิจัยได้นำความรู้ทางทฤษฎีมาเป็นกรอบแนวคิดในการกำหนดปัญหาหรือไม่  นอกจากนี้สามรถพิจารณาว่ามีองค์ประกอบ  5  ส่วน  หรือ  IPESA  หรือไม่ ได้แก่

ส่วนที่  1  สภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับเรื่องที่จะวิจัย  (Ideal  Situation – I)

ส่วนที่  2  สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  (Present  Conditions-P)

ส่วนที่  3  ปัญหาที่เกิดขึ้น  (Existing  Problems-E)

ส่วนที่  4  ความพยายามในการแก้ปัญหา  โดยยกตัวอย่างงานวิจัยหรือผลงานที่ได้ดำเนินมาแล้ว  (Solution-S)

ส่วนที่  5  แนวทางที่ผู้วิจัยคิดจะดำเนินการวิจัยเพื่อช่วยแก้ปัญหา  หรือคิดค้นเทคนิควิธีการใหม่ที่จะทำให้การดำเนินงานดีขึ้น  (Aims  of  Research-A)
ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์การวิจัย  Purpose,Objective,Aim

การวิพากษ์ความมุ่งหมายของการวิจัย

                   ความมุ่งหมายให้ขึ้นต้นด้วย  “เพื่อ……….”  แล้วตามด้วย  คำกริยาบอกสิ่งที่จะดำเนินการและตามติดด้วยชื่อหัวข้อการวิจัย  และพิจารณาว่ามีการจำแนกเป็นข้อ ๆ ตามประเด็นปัญหาตามแนวทางการทดสอบประสิทธิภาพ  ตามองค์ความรู้ของเรื่องที่จะวิจัย  และรายละเอียดของตัวแปร โดยพิจารณาได้ดังนี้

1. มีความเหมาะสมกับเรื่องที่วิจัยหรือไม่
2. เขียนชัดเจนหรือไม่ว่าผู้วิจัยมีแผนจะทำอะไร จะเก็บข้อมูลจากใคร ที่ไหน

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง Review of literature
1. เป็นการศึกษาอย่างขว้างขวางลึกซึ้งเกี่ยวข้องและครอบคลุมตัวแปรต่างๆที่วิจัยหรือไม่
2. นำเสนอต่อจากบทนำและปัญหาการวิจัยหรือไม่
3. ให้ความรู้เกี่ยวกับความรู้ที่มีอยู่ ช่องว่างของความรู้ และบทบาทของงานวิจัยเรื่องนี้ในการขยายหรือทดสอบความรู้หรือไม่
4. มีการใช้ข้อมูลทั้งเชิงทฤษฏีและงานวิจัยหรือไม่
5. แหล่งอ้างอิงส่วนใหญ่เป็นปฐมภูมิ หรือ ทุติยภูมิ มีความเป็นปัจจุบันหรือไม่
6. แหล่งอ้างอิงสำคัญหรือข้อมูลสำคัญ มีการกล่าวไว้ถึงครบถ้วนหรือไม่
7. การเขียนเรียงเป็นลำดับต่อเนื่องหรือไม่ น่าอ่าน น่าติดตามหรือไม่
8. การเขียนเรียบเรียงใหม่โดยใช้ภาษาตนเอง หรือเป็นการคัดลองคำพูดมาจากแหล่งปฐมภูมิโดยตรง
9. สะท้อนอคติของผู้วิจัยหรือไม่
10. มีการเขียนเชิงวิพากษ์ เปรียบเทียบหรือไม่
11. มีการสรุปสถานภาพองค์ความรู้ในหัวข้อนั้น State of the art หรือไม่
12. กำหนดความมุ่งหมายถูกต้องหรือไม่ 
13. มีการจำแนกเป็นข้อ ๆ ตามประเด็นปัญหาหรือไม่

การวิพากษ์สมมติฐานการวิจัย  วิพากษ์ดังนี้

1  ความสอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย
2  ความสามารถทดสอบได้ด้วยเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้
3  ความถูกต้องในการเขียนต้องเขียนด้วยข้อความที่เป็นปรนัยบนกรอบทฤษฏีหรือผลงานที่ผ่านมาทำให้สมมติฐานมีความน่าจะเป็นไปได้

 คำจำกัดความ Definition
1. มีการให้ความหมายตัวแปรสำคัญๆในเชิงปฏิบัติการที่สอดคล้องกับความหมายเชิงทฤษฏีหรือไม่
2. มีการให้ความหมายตัวแปรสำคัญครบถ้วนหรือไม่
3.คำจำกัดความมีคำที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องานวิจัยและขอบเขตการวิจัยครบถ้วนและเหมาะสมหรือไม่
4.การเขียนคำจำกัดความต้องเขียนในรูปนิยามเชิงปฏิบัติการ  มิใช่เขียนอย่างเล่นสำนวน

กรอบแนวคิดทฤษฏี
1. มีการระบุกรอบแนวคิดทฤษฏีอย่างชัดเจนหรือไม่
2. แนวคิด ทฤษฏี สอดคล้องเหมาะสมกับเรื่องที่ศึกษาหรือไม่
3. ให้ความหมายของตัวแปรสำคัญอย่างชัดเจนหรือไม่
4. สมมุติฐานได้มาจากกรอบแนวคิดทฤษฏีหรือไม่
5. มีการระบุข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือไม่
6. การใช้เแนวคิด ทฤษฏี มีความสม่ำเสมอตลอดงานวิจัยหรือไม่
7. ทฤษฏีที่ใช้มาจากศษสตร์ทางการพยาบาลหรือสาขาวิชาใด หรือเป็นแนวคิดที่เกิดจากการผสมผสานงานวิจัยและทฤษฏีต่างๆ

 การวิพากษ์ขอบเขตการวิจัย  ไว้วิพากษ์ดังนี้

1.  ความเหมาะสมในการกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  ต้องกำหนดว่าประชากรคือใคร  อยู่ที่ไหน  จะใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างเมื่อไร  จำนวนเท่าใด  ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบใดจึงจะเป็นตัวแทนของประชากร
2.  การกำหนดของข่ายเนื้อหาสาระของเรื่องที่จะทำการวิจัยมีความเหมาะสมและชัดเจนเพียงใด
3.  การกำหนดระยะเวลา/ช่วงเวลาที่จะดำเนินการวิจัย  ได้กำหนดระยะเวลาที่คาดว่าจะเริ่มและยุติการวิจัย  และช่วงเวลาที่จะใช้ในการดำเนินกิจกรรมการวิจัยตามขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
4.  การกำหนดเครื่องมือวิจัย  เหมาะสมตามประเภทของเครื่องมือวิจัยทั้ง  5  (PACIS)  หรือไม่  คือ 

  • 1) เครื่องมือที่เป็นต้นแบบงานวิจัย  (Prototype)  
  • 2)  เครื่องมือวัดคุณลักษณะกลุ่มตัวอย่าง  (Attributes  of  Samples) 
  • 3)  เครื่องมือประเมินสถานการณ์และบริบท  (Context)
  • 4)  เครื่องมือประเมินผลกระทบ  (Impacts)
  • 5)  เครื่องมือทางสถิติ  (Statistic)

เครื่องมือการวิจัย
1. มีการระบุเครื่องมือ แหล่งที่มา วัตถุประสงค์ ลักษณะ จุดแข็ง จุดอ่อน ของเครื่องมือครบถ้วนหรือไม่ มีการให้เหตุผลเรื่องการเลือกเครื่องมือหรือไม่
2. เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมกับตัวแปรที่ศึกษา ประชากรหรือไม่
3. มีวิธีการใช้เครื่องมือกับตัวอย่างทุกคนเหมือนกันหรือไม่
4. ได้รายงานความตรงของเครื่องมือหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่
5. ได้รายงานค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือหรือไม่ว่าทำอย่างไร ค่าเท่าไร ยอมรับได้หรือไม่
6. ถ้าผู้วิจัยสร้างเครื่องมือเอง มีการอธิบายที่มา/แนวคิดของการสร้างเครื่องมือว่าอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร ค่าความตรงและค่าความเชื่อมั่นเท่าไร ยอมรับได้หรือไม่
7. เครื่องมือแต่ละชนิดมีการควบคุมคุณภาพ วิธีการใช้ที่เหมาะสมหรือไม่
แบบสังเกต ใครสังเกต มีคู่มือไหม มีการฝึกหรือไม่ การสัง้กตมีผลต่อการวิจัยไหม
แบบสัมภาษณ์ ใครสัมภาษณ์ ข้อความที่ใช้ ภาษา ระยะเวลา เหมาะสมหรือไม่
แบบสอบถาม เนื้อหาครอบคลุมหรือไม่ มีความชัดเจนหรือไม่ เป็นคำถามปลายปิด หรือปลายเปิด
เครื่องมือวัด ทำไมจึงใช้เครื่องมือนั้น มีวิธีควบคุมความถูกต้องแม่นตรง และความไวของเครื่องมืออย่างไร

วิธีการรวบรวมข้อมูล Data collection procedure หรือ การดำเนินการวิจัย  ให้วิพากษ์ในประเด็นต่อไปนี้

1.ความเหมาะสมของรูปแบบการวิจัย  ที่อิงรูปแบบหลักของการวิจัยว่าเป็นการวิจัยเชิงทดลอง  เชิงพรรณนา  หรือเชิงคุณภาพ
2. ความเหมาะสมของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  ให้ดูวิธีการได้มาว่ามีการระบุประชากรว่าเป็นใคร  อยู่ที่ไหน  จำนวนเท่าใด  มีคุณลักษณะเด่นอย่างไร  ส่วนกลุ่มตัวอย่างดูว่ามีการระบุวิธีสุ่มตัวอย่าง  จำนวนที่ต้องใช้  และเหตุผลประกอบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนประชากรได้จริงหรือไม่
3. ความถูกต้องของตัวแปรการวิจัย  ให้ดูว่ามีการระบุประเภทตัวแปรที่เกี่ยวข้องการวิจัย
4. ความเหมาะสมและความสมบูรณ์ของเครื่องมือวิจัยที่ต้องสอดคล้องกับประเภทของการวิจัย  การดำเนินการสร้างเครื่องมือ  และลักษณะของเครื่องมือเหมาะสมหรือไม่  อาจจะพิจารณาเครื่องมือวิจัย  5  ประเภท  คือ

                   4.1.     เครื่องมือที่เป็นต้นแบบชิ้นงาน  (P)

                   4.2.     เครื่องมือที่ใช้จำแนกหรือประเมินคุณลักษณะกลุ่มตัวอย่าง  (A)

                   4.3.     เครื่องมือประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม  (C)

                   4.4.     เครื่องมือประเมินผลกระทบ  (ผลลัพธ์)  (I)

                   4.5.     เครื่องมือทางสถิติ  ได้แก่  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล แปลผล  หรือสรุปผล  (S)

5. ข้อมูลมีการรวบรวมอย่างไร มีกี่วิธี
6. วิธีรวบรวมข้อมูลมีความเหมาะสมกับการวิจัยหรือไม่
7.มีขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจนสำหรับตัวอย่างทุกคนหรือไม่
8. ใครรวบรวมข้อมูล ผู้รวบรวมข้อมูลมีความเหมาะสมหรือไม่ ได้รับการฝึกอบรมอย่างไร
9. ข้อมูลรวบรวมในสถานการณ์เช่นไร มีความกดดันไหม มีคนอื่นอยู่ในขณะเก็บข้อมูลไหม ผู้ให้ข้อมูลมีความเสี่ยงหรือไม่

การวิเคราะห์ข้อมูล Data analysis
1. เลือกใช้สถิติที่เหมาะสมหรือไม่กับระดับข้อมูลประชากร
2. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ หรือทดสอบสมมุติฐานครบถ้วนหรือไม่
3. มีการนำเสนอข้อมูลชัดเจนหรือไม่ นำเสนอรูปแบบต่างๆหรือไม่
4. ในการทดสอบสมมุติฐานมีการกำหนดระดับความนัยสำคัญหรือไม่
5. ถ้าใช้กราฟ ตาราง มีการนำเสนอที่เหมาะสม หรือไม่ ให้ข้อมูลเสริม เพื่อลดการบรรยายหรือไม่ มีชื่อตาราง หัวตารางที่ถูกต้องหรือไม่ ซ้ำซ้อนกับเนื้อหา การบรรยายในรายงานหรือไม่

การอภิปรายผลและการสรุปผล Discussion conclusion

                   ให้พิจารณาจากการนำเสนอผลการวิจัย  ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์  สมมติฐาน  และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดและได้มาจากข้อมูลของการวิจัยนั้นหรือไม่  เช่น

1. มีการอภิปรายผลโดยแสดงเหตุผลของผลการวิจัยว่าทำไมจึงเกิดเช่นนั้นหรือไม่
2. มีการนำผลการวิจัยอื่น แนวคิด ทฤษฏีที่อ้างไว้มาใช้ประกอบการอ๓ปรายผลหรือไม่ อย่างไร
3. สะท้อนให้เห็นว่าผลการวิจัยเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ เพราะเหตุใด
4. มีกาสรุปผลการวิจัยที่ชัดเจน ตอบคำถามการวิจัย หรือนำเสนอผลการทดสอบสมมุติฐานหรือไม่
5. มีการระบุจุดอ่อน หรือข้อจำกัด  Limitation ของการวิจัยครั้งนี้หรือไม่ ว่าอย่างไร ประโยชน์ของการวิจัยว่าอย่างไร เหมาะสมชัดเจนหรือไม่

ข้อบ่งชี้ ข้อเสนอแนะ Implication,Recommendation
1. มีการเสนอข้อบ่งชี้ในการนำผลการวิจัยไปใช้คลินิกหรืออื่นๆหรือไม่
2. ให้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปว่าอย่างไร สอดคล้องกับงานวิจัยหรือไม่
เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม Reference,Bibliography
1. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมครอบคลุมเอกสารที่อ้างอิงในส่วนเนื้อหาหรือไม่
2. เขียนตามรูปแบบที่กำหนดของแบบอ้างอิงนั้นๆหรือไม่

อื่นๆ
1. เขียนกระชับ ชัดเจน เป็นระบบหรือไม่ เขียนถูกต้องตามหลักภาษา รูปประโยควรรคตอนหรือไม่
2. เขียนเชิงวิชาการหรือไม่
3. ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่
4. ผู้วิจัยเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องที่วิจัยหรือไม่
5. งานวิจัยชิ้นนี้มีความเหมาะสม  สอดคล้องกับวัตถุประสงค์  สมมติฐานและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและมีความเป็นไปได้สูงซึ่งได้นำข้อมูลของการวิจัยนั้นมาใช้ได้จริง
6. ความถูกต้องและความชัดเจนของภาษา
7. การลำดับความคิดและเนื้อหา
8. วรรณคดีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีความเกี่ยวข้องและครอบคลุมหัวเรื่อง
9. ความสามารถในการพัฒนา Conceptual framework หรือ Theoretical framework จากวรรณคดีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
10. การลำดับความคิดและเนื้อหาที่นำเสนอ
11. ความทันสมัยของวรรณคดีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
12. วิธีดำเนินการวิจัยเหมาะสม ถูกต้องและชัดเจน สามารถตอบคำถามและ/หรือทดสอบสมมติฐาน
13. เครื่องมือวิจัยถูกต้องและมีคุณภาพตามลักษณะของตัวแปร
14. ความเหมาะสมในการควบคุมตัวแปร
15. การเก็บรวบรวมข้อมูลถูกต้อง
16. การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
17. สถิติที่ใช้ถูกต้องเหมาะสม

สามารถดาวน์โหลดเอกสารไฟล์ word ได้ด้านล่างครับ

 

แสดงความคิดผ่าน Facebook