ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ช่วงนี้เห็นข่าวการศึกษาไทยออกมามากมาย ส่วนใหญ่ไปทางด้านลบ (ก็ไม่รู้จะโทษใคร) โทษใครไม่ได้ คงต้องโทษ “ธรรมชาติ” อีกละ เพราะส่วนหนึ่งสาเหตุก็มาจาก “มนุษย์” นี่แหละ แล้วใครสร้างมนุษย์ล่ะ ก็ธรรมชาติไง เห็นทุ่มงบประมาณมากมายเกี่ยวกับการศึกษา ต่อก็ไม่เห็นว่าจะคุ้มค่าตามที่คาดหวังไว้ หรือต้องรอระยะเวลาฟักตัวอีกหลายร้อยปี

ความคิดของผมทั้งหมดล้วนแล้วแต่มาจากเรื่องที่พบเจออยู่ทุกวัน จากประสบการณ์อันน้อยนิดของคุณธรรมดาสามัญ กว่า 19 ปี ที่ปฏิบัติหน้าที่และเห็นเรื่องราวของการศึกษา เห็นได้ชัดว่า (ย้ำอยู่กับที่) ยังดีนะครับ ย้ำอยู่กับที่ แต่ไม่แน่อาจจะย้ำถอยหลัง

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

หลายเดือนมาเห็นที่เห็นหนังสือเรียนในสมัยที่ผมเป็นเด็ก ถูกกลับนำมาใช้ใหม่ แต่ผมยังจำเรื่องราวในหนังสือได้ดี ผมสนุกกับการติดตามเรื่องในหนังสือ และก็มีชื่อตัวละครคล้ายๆ กับชื่อผม เลยจำได้ หนังสือเรียน “มานี มานะ” ในสมัยทีผมเรียนถึงวันนี้ก็เกือบ 40 ปี และหนังสือเรียนเหล่านั้นได้สร้างคน ให้สร้างชาติ สร้างความเจริญมากมาย แสดงว่าการศึกษาในสมัยนั้นดี แต่ทำไมเมื่ออะไรๆ พัฒนาไปมากขึ้น การศึกษาไทยกลับถอยหลัง ไหนนักการศึกษาเห็นคุยซะใหญ่โตว่าการศึกษาไทยพัฒนาสู่สากล แล้วทำไมกลับนำตำราในสมัยอดีตมาใช้ล่ะครับ (งงงงงง) แล้วจะทุ่มเทงบประมาณไปมากมายทำไม กว่า 100 ปีเพิ่งมาคิดได้หรือครับ

เห็นทุกโครงการของการศึกษา มุ่งแต่จะพัฒนาคนเก่ง ผมเชื่อว่าทุกวันนี้คนเก่งทั้งโลกครับ (เก่งคนละด้าน) ประเทศไทยเห่อคนเก่ง มัวแต่พัฒนาคนให้เก่ง จนลืมมองที่จิตใจของคน ไม่ได้พัฒนาทางด้านจิตใจ แต่พัฒนาเพียงสมอง สรุปตอนนี้คนเก่งน่าจะเต็มบ้านเต็มเมืองแล้ว และก็เห็นได้ชัดที่บ้านเมืองไทยเป็นแบบนี้ก็เพราะมีคนเก่งมากมายไงครับ (แล้วจะพัฒนาไปทำ…อะไร)

ภาพประกอบจากอินเทอร้เน็ต

ความเก่งอาจจะถ่ายทอดกันไม่ได้ คุณมัวแต่จะเอาคนเก่งมาทำโน้นทำนี่ ยอมรับครับว่าคนเก่งทำได้หมด แต่ความเก่งที่คนมีกลับไม่ได้พัฒนาตัวบุคคลภายในจิตใจ อาจขาดทักษะการใช้ชีวิต ขาดความเสียสละ ขาดความอดทน ไม่สู้งาน ใช้ความเก่งให้ตัวเองสบาย สุดท้ายการศึกษาเลยเป็นแบบนี้ไง

หากขยายความคงไม่จบไม่สิ้นครับ นำเสนอเพียงเท่านี้ก่อนแต่ถ้าจะให้แสดงความคิดเห็น (คงไม่มีใครรับฟัง) เห็นข่าว ทางเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม  (World Economic Forum-WEF ) ได้รายงานผล โกลบอล คอมเพทติทีฟ รีพอร์ท 2014-2015  (Global Competitive Report 2014-2015) โดยสรุปว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย อยู่อันดับที่ 31 จาก 144 ประเทศ และเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน ตามหลังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งอยู่อันดับ 2 ของโลก และมาเลเซีย อันดับ 20 แต่ที่นักการศึกษาไทยเต้นผาง คือ ผลการรายงานระบุว่า ในระดับโลกคุณภาพระบบการศึกษาไทยอยู่ในอันดับที่ 87 ซึ่งมีอันดับถดถอยลง 9 อันดับ และคุณภาพประถมศึกษาถดถอยลง 4 อันดับ จากปี 2556 สวนทางอัตราการเข้าเรียนทุกระดับ ทั้งประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาที่ดีขึ้น เมื่อแยกเฉพาะกลุ่มอาเซียนที่เข้าร่วมการประเมินในปีนี้  9 ประเทศ ยกเว้นบรูไน ยิ่งน่าตกใจ เพราะทั้งคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย และคุณภาพระบบอุดมศึกษา อยู่ในอันดับ 6 ตามหลังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) อยู่ในอันดับ 5 (ข่าวจากเดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 11 กันยายน 2557 เวลา 00:00 น.)

ผมเชื่อว่าคนที่มีประสบการณ์จะทำอะไรได้ดีกว่าคนรุ่นใหม่ที่เก่งๆ แต่หากคนที่มีประสบการณ์เป็นคนเก่งด้วยแล้วจะดีมาก ความรู้ที่คนเก่งได้ร่ำเรียนมา เมื่อปฏิบัติงานจริงกลับนำมาใช้อะไรไม่ได้เลย แต่ต้องอาศัยการเรียนรู้ในสถานที่จริงและเรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์ อันนี้ผมการันตีครับ ว่าไม่ต้องใช้ทฤษฎีอะไรมารองรับ เพราะผมสัมผัสมาด้วยตัวเอง และก็เป็นอย่างนี้จริง มีความรู้แต่ยังไม่ถึงขั้นเกิดปัญญา

เรื่องของการปัญญาที่คนให้ความสำคัญไม่กีท่าน แต่ผมว่าไม่ต้องเก่งก็เกิดปัญญาได้ ขอให้มีความขยัน อดทน ตั้งใจ และปฏิบัติชอบ คนมีการศึกษาบางคน พฤติกรรมแย่กว่าคนเรียนน้อยด้วยซ้ำ แสดงว่าการศึกษาไม่ได้ช่วยพัฒนาคน (แต่ไม่ใช่ทั้งหมดครับ) การศึกษามีส่วนช่วยพัฒนาเยอะเพียงแต่พัฒนาไม่ครบวงจร

ผมเห็นข่าวที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวแล้วรู้สึกว่าใช่เลย สิ่งที่ท่านกล่าวและคิด เป็นเรื่องที่ต้องเร่งปฏิบัติและให้คนได้รับรู้ทั่วถึง เพราะได้พูดเกี่ยวกับเรื่อง ปัญญา ซึ่งผมได้แนะนำนักเรียนอย่างสม่ำเสมอว่า ศึกษาให้เกิดความรู้ เพื่อนำความรู้นั้นไปแก้ปัญหา แล้วจะเกิดปัญญา เพื่อรับกับปัญหาต่อไปได้

ข้อความหนึ่งจาก ข่าวแนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557, 14.54 น.“ดังคำกล่าวของมหาตมะ คานธี ที่กล่าวไว้ว่า หากคุณเรียนรู้จากตำรา คุณจะได้ความรู้จากตำรา หากคุณได้เรียนรู้จากประสบการณ์ คุณจะได้ปัญญา เพราะถ้ามีปัญญาจะทำให้ประสบความสำเร็จทุกอย่าง ปัจจุบันมีการใช้อกุศลมูลเป็นพลังขับเคลื่อน เกิดความโลภ เกิดวิกฤติ แต่ในอนาคตเชื่อว่าโลกจะเอนเอียงไปทางความดี ฉะนั้น ต้องสร้างความดีมีปัญญา เพราะการปฏิรูปการศึกษาต้องเชื่อมโยงกันด้วยความดี” ศ.นพประเวศ กล่าว 

 

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

แสดงความคิดผ่าน Facebook