ตัวที่คอยควบคุมในแต่ละระยะ วิธีสแกนสมัยใหม่ทำให้เราเข้าไปเห็นในสมองได้ นักวิทยา ศาสตร์จึงสามารถถอดรหัสเคมีแห่งความรักออกมาได้

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

การเกี้ยวพาราสี : ในชั่วโมงแรก ๆ หรือวันแรก ๆ การเกี้ยวพาราสีอาจเปรียบได้กับการเข้าบ่อนหรือใช้ยาเสพติด ศูนย์กลางในสมองส่วนที่เกี่ยวกับการให้รางวัลเป็นตัวการของอารมณ์รุนแรงที่ควบคุมพฤติกรรมของเรา พื้นที่ในสมองส่วนหน้าที่เรียกว่า นิวเคลียสแอกคัมเบนส์ หรือ NAcc จะหลั่งสารสื่อประสาทโดปามีนออกมา ทำให้เกิดความพึงพอใจอย่างยิ่ง จนเรากระหายอยากจะทำซ้ำการกระทำที่ทำให้สารนั้นหลั่งออกมาอีก ในการทดลองนักวิทยาศาสตร์วัดระดับโดปามีนที่เพิ่มขึ้นใน NAcc ของผู้เข้ารับการทดลองที่ได้รับคำสัญญาว่าจะได้รับเงินตอบแทนกับผู้ชายรักต่างเพศที่เห็นภาพของผู้หญิง

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ตกหลุมรัก : ช่วง 6-12 เดือนแรก

ความสุขคือความเครียด : ความอิ่มเอิบใจในช่วงตกหลุมรักนั้น ปกติมักมองกันว่าเป็นช่วงเวลาของความสุข แต่เอาเข้าจริงมันแฝงไว้ด้วยความไม่ไว้วางและความไม่มั่นคง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ตรวจสมองของคนที่เพิ่งตกหลุมรัก ก็พบว่ามีสภาวะเครียดร่วมด้วยอย่างเห็นได้ชัด ฮอร์โมนที่มีความ เครียดมีระดับสูง และพื้นที่ส่วนใหญ่ส่วนที่สมองทำงานเกี่ยวกับการเลือกและการตัดสินว่าคนอื่นมีจุดมุ่งหมายอย่างไรเกิดกิจกรรมสูงขึ้น

จำเป็นต้องเลือกอย่างยากลำบาก : การตกหลุมรักนั้นเกี่ยวพันกับการสงสัย ไม่แน่ใจอย่างมากด้วย ในปี ค.ศ. 2011 จิตแพทย์ ซูเซี่ยวเมิ่ง จากมหาวิทยาลัยสโตนีบรุก ในนิวยอร์ก สแกนสมองของหนุ่มสาว 18 คน ที่เพิ่งตกหลุมรัก การทดลองแสดงให้เห็นว่า ภาพของคู่รักกระตุ้นกิจกรรมในออร์บิทอฟรอนทัลคอร์เทกซ์ หรือ OFC อย่างสูง สมองบริเวณนี้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจว่าการกระทำแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน

ภาพคู่รักกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมในสมองอันเป็นศูนย์การให้รางวัลด้วย สมองส่วนนี้เรียกว่าบริเวณเวนทรัลเทกเมนทัลหรือ VTA แต่จะกระตุ้นเฉพาะซีกขวา ถ้าเห็นภาพญาติสนิท จะเกิดการกระตุ้นที่ซีกซ้าย สมองจึงเป็นตัวแยกแยะระหว่างความรักใคร่แบบคนรักกับความรักในครอบครัว

สามารถวัดระดับความรักได้ : คนที่มีความรักมักเป็นกังวลว่าคนรักจะรักตอบหรือไม่ พื้นที่เล็ก ๆ ในสมองที่เรียกว่า แองกูลาร์ไจรัส (Angular Gyrus) ซึ่งอยู่ระหว่างสมองส่วนใหญ่ส่วนท้ายทอยกับความเข้าใจเรื่องอารมณ์ ความรู้สึก และเจตนาของคนอื่น (ทฤษฎีแห่งจิตใจ) สมองส่วนนี้จะทำงานหนักเวลาเราตกหลุมรักสเตฟานี ออร์ทีค แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตแซนตาบาร์บารา สแกนสมองของผู้หญิงที่กำลังมีความรัก 29 คน เวลาที่พวกเธอนึกถึงความรัก การทดลองแสดงให้เห็นว่า ยิ่งรู้สึกรักมากเท่าไหร่ สมองส่วนนี้จะทำงานหนักมากเท่านั้น

ความสัมพันธ์คงที่ : 1 ปีขึ้นไป

ฮอร์โมนสร้างความมั่นคงปลอดภัย : หลังผ่านช่วงเวลาแห่งความเครียดและความสุขใจของการตกหลุมรักไปราว 6-12 เดือน ความสัมพันธ์จะเข้าสู่ช่วงคงที่ ซึ่งถูกควบคุมโดยสารเคมีตัวอื่น ฮอร์โมนคอร์ติซอลและโปรตีน NGF ลดลงสู่ระดับปกติ แต่ปริมาณฮอร์โมนออกซิโทซินจะเพิ่มขึ้น ออกซิโทซินจะมีประสิทธิภาพต่อสมองส่วนอะมิกดาลาในสมองใหญ่ ส่วนขมับตรงส่วนนั้น ฮอร์โมนจะสู้กับความเครียดและความกังวล ทั้งช่วยสร้างความรู้สึกปลอดภัยและสันติในความสัมพันธ์ที่คงที่

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ออกซิโทซินทำให้คุณน่าดึงดูด : ฮอร์โมนออกซิโทซินเป็นกุญแจสำคัญในชีวิตรักของมนุษย์ในปี ค.ศ. 2013 จิตแพทย์ชาวเยอรมัน เรเนอ ฮูร์เลมันน์ แห่งมหาวิทยาลัยบอนน์ ในเยอรมนี ตีพิมพ์ผลการทดลองน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับออกซิโทซิน ฮูร์เลมันน์ให้ชายหนุ่ม 20 คน ที่มีความสัมพันธ์ราบรื่นและยาว นานมองดูภาพของผู้หญิงหลาย ๆ คน โดยในภาพเหล่านั้นมีภาพแฟนของเขารวมอยู่กับผู้หญิงที่เขาไม่รู้จัก โดยผู้ชายเหล่านั้นต้องให้คะแนนความสวยกับผู้หญิงแต่ละคน หลังจากนั้นฮูร์เลมันน์ก็ทำซ้ำ แต่คราวนี้ให้ผู้ชายพวกนั้นพ่นออกซิโทซินที่จมูก ผลนั้นน่าสนใจมากเพราะถ้าตกอยู่ใต้อิทธิพลของฮอร์โมน ผู้ชายเหล่านั้นพบว่าคู่รักของตนดูดึงดูดใจมากกว่าก่อนหน้านี้ แต่ฮอร์โมนไม่ได้มีผลอะไรกับผู้หญิงอื่น การสแกนสมองเผยว่า ออกซิโทซินไปกระตุ้นสมองบริเวณนิวเคลียสแอกคัมเบนส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การให้รางวัล การทด ลองอื่นแสดงให้เห็นว่า สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างความรู้สึกดี ๆ ของความรักโรแมนติก ดังนั้น ฮอร์โมนนี้จึงช่วยสร้างความผูกพันระหว่าง คู่รัก

ความสัมพันธ์ที่มั่นคงช่วยยับยั้งอารมณ์ ทางด้านลบ : นักชีววิทยาทางประสาท เซเมียร์ เซกิ จากยูนิเวอร์ซิตีคอลเลจ ในลอนดอน ศึกษาผลสแกนสมองในการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ อื่น ขณะที่ผู้เข้าทดลองเห็นภาพคนรักของตนเอง

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

เขาสรุปว่า สมองหลายส่วนจะทำงานน้อยลงถ้าเรามีความสัมพันธ์ที่มั่นคงและมีความสุข สมองดังกล่าว ได้แก่ อะมิกดาลา ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกลัว และเปลือกสมองส่วนข้างและส่วนขมับซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างอารมณ์ทางลบกิจกรรม ที่น้อยลงในพื้นที่เหล่านี้จะทำให้เกิดความสมดุล ความสงบ และความรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น อันเป็นอารมณ์หลักของความสัมพันธ์ที่มีความสุข

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ผลสแกนสมองแสดงให้เห็นว่า คนที่อยู่ในความสัมพันธ์ระยะยาวนั้น กิจกรรมของสมองในส่วนออร์บิทอฟรอนทัลคอร์เทกซ์จะลดน้อยลงเวลาได้เห็นภาพของคู่รัก สมองส่วนนี้จะทำงานเวลาที่เราตัดสินใจว่าคนอื่นคิดอย่างไรกับเรา เซเมียร์ เซกิ ตีความว่า การที่กิจกรรมลดลงหมายถึงคนที่มีความสัมพันธ์ มั่นคงแล้วจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่รักและไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานมากมายนักกับการคาดเดาถึงอารมณ์ของคู่ของตน ไม่เหมือนคนที่กำลังตกหลุมรัก ฮอร์โมนสามชนิด

ควบคุมความปรารถนา : ชีวิตทางเพศของเราถูกควบคุมจากฮอร์โมนสามชนิด นั่นคือฮอร์โมนเพศของชายและหญิง ได้แก่ เทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจน กับฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งทำให้เกิดความรื่นรมย์และความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

เลิกรา รักที่ไม่สมหวังเหมือนโรคซึมเศร้า : หากความสัมพันธ์ระยะยาวจบสิ้นลง เราสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงในสมองได้เช่นกัน จิตแพทย์ คริสตินา สเติสเซิล จากมหาวิทยาลัยไฟรดริช อาเลกซันเดอร์-อูนิเวอร์ซิแตต แอร์ลังเงินเนือร์นแบร์ก ในเยอรมนี เปรียบเทียบผลสแกนสมองของคน 12 คน ที่ถูกคู่ทิ้งไปกับอีก 12 คน ที่มีความสุขในความสัมพันธ์สมองส่วนอินซูลาร์คอร์เทกซ์ (Insular Cortex) กับแอนทีเรียร์ซิงกูเลตคอร์เทกซ์ (Anterior Cingulate Cortex : ACC) ของคนที่ถูกทิ้งจะทำงานลดน้อยลง สมองบริเวณนี้จะประมวลผลอารมณ์ทั้งบวกและลบ และจะทำงานลดน้อยลงในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าด้วย

ดังนั้นจึงอธิบายได้ว่าทำไมเรารู้สึกเศร้าเมื่อความสัมพันธ์ระยะยาวจบสิ้นลง

ข้อมูลจาก : นิตยสารไซแอนซ์ อิลลัสเตรเต็ด.

เห็นไม่ละครบว่า อะไรเป็นสาเหตุของเรื่องราวของความรัก ไม่ใช่แต่เฉพาะตัวบุคคลนั้น ๆ แต่เป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นในตัวบุคคลนั้นๆ หากเข้าใจก็ทำใจได้

นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องราวที่เกียวข้องอีก เ่ช่น สารเอ็นโดฟินส์กับความรัก ซึ่งเป็นบทความนานมาแล้วจาก เดลินิวส์ เมื่อวันเสาร์ 26 พฤษภาคม 2555 เวลา 00:00 น. โดย ดร.อุ๋มอึ๋ม ความว่า

ในสมองของคนเรามีกลไกการทำงานที่ซับซ้อนมากมายและมีการหลั่งสารเคมีหลายชนิด เมื่อเรากำลังมีความรัก หนึ่งในสารเคมีเหล่านั้นคือสาร เอ็นโดฟินส์ (Endorphins)หรือสารแห่งความสุข หรือสารสุข สารเอ็นโดฟินส์เป็นสารเคมีจำพวกเดียวกับฝิ่น (Opioid) ซึ่งผลิตขึ้นภายในร่างกาย โดยสมองส่วนไฮโปธารามัส (Hypothalamus) และต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) อันเนื่องมาจากเป็นสารเคมีจำพวกเดียวกับฝิ่นจึงมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด (Analgesia) และทำให้รู้สึกสุขสบาย (Sense of well-being) หรืออีกนัยหนึ่ง สารเอ็นโดฟินส์ก็คือยาแก้ปวดแบบธรรมชาตินั่นเอง

เมื่อเรามีความสุข หรืออยู่ในสภาวะที่สุขสบาย (Pleasure experience) ไม่ว่าจะเป็นการจินตนาการหรือความรู้สึกจากประสาทรับสัมผัสทั้ง 5 เช่น การเล่นคลอเคลียกับสัตว์เลี้ยงแสนรัก การฟังดนตรีเพราะ ๆ การอ่านหนังสือถูกใจ การดูภาพยนตร์ การออกกำลังกาย (ในบางตำรากล่าวว่าต้องเป็นการออกกำลังกายที่หนัก ๆ) การทำสมาธิ หรือการที่มีความรู้สึกรัก การได้พูดคุยกับคนที่เรารัก การได้อยู่ใกล้ชิดกับคนที่เรารัก การได้สัมผัสถ่ายทอดความรักซึ่งกันและกัน กระทั่งการได้ร่วมรักกับคนที่เรารัก ขั้นตอนการเล้าโลม เหล่านี้เป็นการกระตุ้นให้สมองเกิดการหลั่งสารเอ็นโดฟินส์ขึ้น (โดยพบว่ามีการหลั่งสารเอ็นโดฟินส์อย่างมากในช่วงการร่วมเพศแล้วมีความสุขสมอารมณ์หมาย (Orgasm) คือเมื่อสารเอ็นโดฟินส์ที่หลั่งออกมานี้จะไปจับกับตัวรับ (Receptor) ชนิด Opioid ในสมองก็จะมีผลโดยรวมทำให้เกิดการหลั่งของสารโดปามีน (Dopamine) มากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อร่างกายต่าง ๆ เช่น บรรเทาความเจ็บปวด เกี่ยวข้องกับสมดุล ความหิว การนอนหลับ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีผลต่อการควบคุมการสร้างฮอร์โมนเพศ (Sex hormones) และที่สำคัญสารเอ็นโดฟินส์สามารถส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune system) โดยมีการศึกษาและรายงานถึงผลของการหัวเราะว่าทำให้เกิดการหลั่งสารเอ็นโดฟินส์ในสมองมากขึ้น จะเกิดการทำงานของ Stress hormone หรือฮอร์โมนที่หลั่งเมื่อร่างกายเผชิญกับสภาวะที่เครียด เช่น Adrenaline มีผลทำให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ ผ่อนคลายมากขึ้นทำให้อาการปวดบรรเทาลง และมีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัวได้ดีขึ้น ทำให้เม็ดเลือดขาวเดินทางเข้าไปฆ่าเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น โอกาสเจ็บป่วยก็จะลดลง คือทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นนั่นเอง ดังนั้น การที่มีกิจกรรมใดก็ตามที่ทำให้เรารู้สึกเป็นสุขมีการหลั่งสารเอ็นโดฟินส์ย่อมมีส่วนเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายได้เสมอ

เนื่องจากร่างกายกับจิตใจมีความเชื่อมประสานกันอย่างแยกไม่ได้ ในบางครั้งอาจเคยสังเกตว่าเวลาไม่สบายกาย จิตใจก็มักหงุดหงิดหรือหดหู่ไปด้วย หรือเวลาที่ไม่สบายใจ ร่างกายก็พลอยเบื่ออาหาร นอนไม่หลับไปด้วย

ดังนั้นเวลาที่คนเราไม่สบายนอกจากการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว การอยู่ในสภาวะที่มีความสบายกายและสบายใจ หรือมีความสุขใจ ก็มีผลดีต่ออาการเจ็บป่วยทางร่างกาย การมีความรัก มีคนรักคอยเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิด

แสดงความคิดผ่าน Facebook