ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

เอาล่ะครับ คำที่ใช้กันมาหลายยุคหลายสมัย สำหรับการพัฒนาทางการศึกษา นั่นคือคำว่า “ปฏิรูป” เริ่มมีมาตัังแต่การปฏิรูปนโยบายการศึกษา การปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปการศึกษา ทุอย่างอย่างล้วนแล้วแต่ปฏิรูปทั้งนั้น และที่เห็นก็มาถึงคุณครู แล้วครับ คือ “ปฏิรูปครู”

ก็เป็นเรื่องที่ดีครับ จะได้มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง เพราะการปฏิรูปคือการพัฒนาให้ดีกว่าเดิม จากหัวข้อข่าว “คุรุสภาลงพื้นที่เก็บข้อมูลปฏิรูปครู” “ไพฑูรย์”เผย แบ่งสายกรรมการคุรุสภาลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำงานของครู จ่อนำนโยบายรัฐบาล หารือในที่ประชุมบอร์ด 18 ก.ย.นี้ พร้อมทบทวนกฏเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพให้ยืดหยุ่น หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคาร 16 กันยายน 2557 เวลา 18:20 น. มีรายละเอียดว่า

วันนี้ ( 16 ก.ย.) ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา เปิดเผยว่า จากการประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2557 เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้ศึกษาบทบาทและทิศการทำงานของครูในอนาคต และเห็นตรงกันว่าจำเป็นต้องปฏิรูปคุณภาพการศึกษาตั้งแต่ระดับล่าง คือ ระดับห้องเรียน ชั้นเรียน และสถาบัน โดยเน้นปฏิรูปบทบาทของครูในรูปแบบใหม่ เพื่อ นำไปสู่กระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ มากกว่าการปฏิรูปจากระดับบนที่เป็นหน่วยงานและโครงสร้าง โดยครูต้องหันมาเน้นฝึกให้เด็กมีบทบาทในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองแทนการ สอนแบบบรรยาย นอกจากนี้ต้องปฏิรูปการผลิตครูใหม่ ตั้งแต่การรับนักศึกษาครู โดยคัดคนที่มีความสามารถสูง ตั้งใจเรียน ขณะเดียวกันสถาบันผลิตครูต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เอื้ออำนวยให้นักศึกษา ได้คิดวิเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นการลดขนาดห้องเรียนและจำนวนผู้เรียนลงให้แหลือประมาณ 25-30 คนต่อห้อง

ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมเสนอให้สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย(ส.ค.ศ.ท.)ทำการทดลอง โดยเลือกสถาบันผลิตครูที่พร้อมมาจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ รวมถึงให้คุรุสภาปรับมาตรฐานวิชาชีพให้ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ สามารถเสนอหลักสูตรหรือกระบวนการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งตนก็เห็นด้วย ว่า คุรุสภาน่าทบทวนกฏเกณฑ์เพื่อเอื้อให้นักครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ สามารถปฏิรูปครูและพัฒนาคุณภาพครูในทิศทางใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ ผมจะนำข้อเสนอทั้งหมด รวมถึงแนวนโยบายของรัฐบาลเรื่องการผลิตครูดีมีคุณภาพ การปรับกระบวนการรับคนเป็นครู การยกฐานะความเป็นอยู่ของครู เข้าหารือในบอร์ดคุรุสภา วันที่ 18 ก.ย.นี้ จากนั้นจะมอบหมายให้กรรมการคุรุสภาไปติดตามสถานะ และการทำงานของครูในแต่ละพื้นที่ พร้อมรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาครู โดยให้เวลา 1 เดือน และนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมคุรุสภา เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่จะเป็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจนต่อไป”ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว.

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ในทัศนะคติของผม ประโยคที่น่าสนใจคือ โดยครูต้องหันมาเน้นฝึกให้เด็กมีบทบาทในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองแทนการ สอนแบบบรรยาย ซึ่งตรงนี้ผมว่าน่าจะเหมาะและเข้ากับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นให้นักเรียนแสวงหาความรู้ด้วนตนเอง และในเรื่องของทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่มีหลากหลายทักษะ รวมถึงเรื่องการแบ่งปันความรู้ครับ

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

การที่ให้ครูได้มีเวลาให้กับนักเรียน และดูแลเอาใจใส่นักเรียน ได้มีเวลาเตรียมการสอน และฝึกนักเรียนให้สามารถแสวงหาตนเอง ก็ต้องให้เวลาสำหรับครุด้วยนะครับ และเรื่องของการเลือนวิทยฐานะในการให้ทำผลงานนั้น ก็น่าจะยุติ หรือเพลาๆ ลงได้บ้างแล้ว ถ้าหากต้องให้ครูได้เลื่อนวิทยะฐานะ ก็ประเมินที่ผลงานที่สอนและการปฏิบัติงานจริงเลยครับ ไม่ต้องมามั่วทำวิจัยเป็นหลักอยู่ หลายหลักคืองานสอน ก็ประเมินการสอน ส่วนกระบวนการวิจัยมีความจำเป็นครับ ครูต้องเรียนรู้ด้วย เสนอแนะว่า ให้ทุกเพื่อนให้ครูทำวิจัยไปเลยครับ หากเสนอหัวข้อผ่านก็ให้ทุน ไม่จำเป็นต้องเอามาเป็นตัววัดประเมินเพื่อเลื่อนวิทยะฐานะ เพราะเวลาส่วนหนึ่งมัวแต่ทำผลงาน จนไม่ได้ทุ่มเทเวลาในกับเด็ก และอะไรอีกมากมากที่ .…(จุดจุดจุด)

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

แสดงความคิดผ่าน Facebook