อบรม EIS – ECLIP
อบรมสัมมนา ตุลาคม 13th, 2014
ได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรม โครงการพัฒนาศักยภาพของครูด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ เพื่อการศึกษาแบบบูรณาการผ่านการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างวันที่ 6-8 ตุลาคม 2557 ณ โรงแรมแม็กซ์ พระราม 9 กรุงเทพมหานคร เลยนำมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อจะได้เแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และเป็นแหล่งอ้างอิง ในการดำเนินงานและมองการศึกษาว่าปัจจุบัน มีความเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง สำหรับกำหนดการอบรมสามารถคลิกดูได้ที่กำหนดการอบรมครับ
ก็ได้สาระมากมายจากการอบรมทั้งเรื่องเก่าและเรื่องใหม่ หลากหลายประสบการณ์ครับ สำหรับเรื่องที่น่าสนใจที่ได้จากการอบรม เป็นเรื่องของ STEM Education สำหรับผมแล้วเป็นเรื่องใหม่ครับไม่ค่อยได้คลุกคลีสักเท่าไหร๋ และฟังแล้วน่าสนใจ จนต้องค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ท่านใดสนใจลองเข้าไปยังเว็บไซต์หลักดูครับที่ http://www.stemedcoalition.org/ ซึ่งเกี่ยวข้องกับศึกษาในศตวรรษที่ 21 ด้วย น่าสนใจครับ
สะเต็มศึกษา (STEM Education) คือ แนวทางการศึกษาที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆเช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และความรู้ด้านคณิตศาสตร์ รวมเข้าด้วยกัน
– Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
-Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
-Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
-Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์
จุดเริ่มต้นของแนวคิด สะเต็มศึกษา (STEM EDUCATION)
เนื่องจากว่าประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาเรื่อง ผลการทดสอบ PISA ของสหรัฐอเมริกา ที่ต่ำกว่าหลายประเทศ และส่งผลต่อขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิศวกรรม ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบาย ส่งเสริมการศึกษาโดยพัฒนา STEM Education ขึ้นมา เพื่อหวังว่าจะช่วยยกระดับผลการทดสอบ PISA (Program for International Student Assessment) และ TIMSS การทดสอบด้านคณิตวิทยาศาสตร์ระดับสากล (Trends in International Mathematics and Science Study)ให้สูงขึ้น และจะเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (21st Century skills) เช่น
1. ด้านปัญญา ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหา
2. ด้านทักษะการคิด ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะการคิด โดยเฉพาะการคิดขั้นสูง เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
3. ด้านคุณลักษณะ ผู้เรียนสามารถมีทักษะการทำงานกลุ่มทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
หากสนใจก็ลองสืบค้นจากอินเทอร์เน็ตดุครับ มีบทความภาษาไทยด้วย เผื่อใครที่กำลังทำวิจัย สามารถนำไปอ้างอิงได้ครับ อยากจะเห็นการพัฒนาการศึกษาที่อะไรใหม่ๆ บ้าง เพราะส่วนหนึ่งทำผลงานหรือวิจัยเพื่อจบ โดยไม่ได้เห็นคุณค่าของงานว่าทำไปเพื่ออะไร และได้อะไร เพราะปัจจัยสำคัญที่ไม่ต้องการทำอะไรที่ใหม่ๆ เนื่องจาก คำว่า “ยาก” ทั้งที่ความจริง เป็นเพียงความรู้สึกของเราเอง ด้วยเหตุคนส่วนใหญ่เลยกลายเป็นคน มักง่าย ครับ เพราะชอบอะไร ง่ายๆ (แป๋ว) อยากเห็นอะไรที่มันท้าทายบ้าง เพราะมันเป็นแรงจูงใจ และแรงบันดาลใจ สำหรับคนที่ได้รับรู้ ส่วนใหญ่ก็เห็นแต่เรื่องเดิมๆ หลังจากนี้คิดว่าการศึกษาคงจะปฏิรูปครั้งใหญ่ (คิดว่า)
ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็ปกติครับ เพียงแต่ใครจะนำไปใช้ให้เกิดกับประโยชน์การเรียนการสอนอย่างไร
สำหรับรายละเอียดการอบรมขออนุญาตเจ้าของโครงการ นำมาเผยแพร่ในเว็กไซต์ครับ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
by Mr. Surapong Ngamsom (Click here)&
Assoc.Prof.Dr.Montree Yamkasikorn (Click here)
Dr. Denchai Prabjandee (Click here)
ผศ.ดร.เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร (Click here)
นาวาตรี ดร. พงศ์เทพ จิระโร (Click here)
Google Calendar called “e-CLIP activities 2014“
*ส่วนหนึ่งของการอบรมในครั้งนี้ เป็นการนำไอที อย่าง Google Apps for Education มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนด้วยครับ แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้ นำเสนอ เกี่ยวกับ Google Classroom และ Chromebox วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่ช่วยเพิ่