ไม่มี “การบ้าน” ที่ฟิลแลนด์
สนทนาการศึกษา ธันวาคม 23rd, 2014หากเอ๋ยถึงประเทศ ฟิลแลนด์ คงเป็นที่ทราบกันดีครับว่า เป็นประเทศที่ถูกจัดอันดับให้ระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก ซึ่งหลายๆ สาเหตุก็คงทราบกันไปบ้างแล้วว่าทำไม และอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ การศึกษาของประเทศฟิลแลนด์ ไม่มีการบ้าน หรือหากมีก็น้อยมาก นี่น่่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ระบบการศึกษาของประเทศฟิลแลนด์ ติดอันดับการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก ลองมาดูระบบการศึกษาที่ประเทศฟินแลนด์กันครับ ว่าแตกต่างจากระบบการศึกษาทั่วโลกหรือในประเทศไทยอย่างไรบ้าง
- อัตราการจบการศึกษาโรงเรียนมัธยมในประเทศฟิลแลนด์คิดเป็น 93% (78% ในแคนาดาและ 75% ในสหรัฐฯ)
- 2 ใน 3 นักเรียน เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
- ค่าเฉลี่ยคะแนนสอบ PISA ในฟินแลนด์ได้คะแนสูงประเทศฮ่องกง 20 คะแนน
- อัตราส่วนของครูกับนักเรียนคิดเป็น 1:12 คน (เมื่อเทียบกับเมืองนิวอร์ก 1:24 คน)
- ไม่มีการจัดห้องเรียนที่แยกต่างหากสำหรับการศึกษาเร่งหรือพิเศษ (ทุกคนเรียนรวมห้องเดียวกัน ไม่ว่าจะมีความสามารถพิเศษอย่างไร) ซึ่ง 1 ใน 3 ของนักเรียนในห้องจะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
- การทดสอบมาตรฐานจะได้รับการทดสอบสำหรับนักเรียนที่มีอายุ 16 ปี เท่านั้น
- เวลาสำหรับการพัก นักเรียนจะมีประมาณ 75 นาทีต่อวัน
- การบ้านจะมีก็ต่อเมื่อนักเรียนย่างเข้าสู่วัยรุ่น
- ครูส่วนใหญ่จะจบการศึกษาระดับปริญญาโท ซึ่งจะได้รับทุนอุดหนุนจากรัฐบาล
- 10% สูงสุดของการจบระดับปริญญาได้รับการยอมรับในโปรแกรมการเรียนการสอน
- อาชีพครูได้รับการยอมรับและยกย่องเทียบกับแพทย์และทนายความ
เป็นไงบ้างครับ เห็นข้อมูลระบบการจัดการศึกษาของประเทศฟิลแลนด์ แล้วแตกต่างกันชิ้นเชิงกับระบบการศึกษาของไทย และอีกหลายๆ สาเหตุครับ ก็ปรับไปตามสภาพความแตกต่าง เพราะเหตุผลหลักๆ ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นคนดีที่ถูกปลุกฝังมาตั้งแต่ครอบครัว และการมีจิตสำนึกในการประพฤติดีครับ (?)
อ้างอิง Edudemic.com