ช่วงเดือนนี้รู้สึกว่าผมบ่นในบทความมากจังครับ ปกติเดือนละครั้ง ช่วงหลังวันละหลายๆ ครั้ง อาจเพราะอยากเล่าเรื่องราวต่างๆ เพื่อไว้เป็นประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในยุคปัจจุบันที่อะไรๆ ก็เปลี่ยนไปเยอะ ความจริงเวลาส่วนหนึ่งผมมีงานที่ต้องรีบทำให้เสร็จ นั่นคือเขียนบทความวิจัยส่งฐานข้อมูล scopus  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับ ในระดับนานาชาติ สำหรับผมแล้วก็เป็นงานหนัก ตอนนี้ก็ยังไม่คืบหน้าเพราะต้องค้นหาข้อมูลในปริมาณเพื่อมาสังเคราะห์ แถมยังตีพิมพ์เป็นภาษาอักกฤษ โห (ทำใจ)

ประเด็นของบทความนี้คือ ผลจากการไปตรวจสุขภาพประจำปี 2559 ปรากฎว่า ไขมันและกรดยูริกสูง (ไม่รู้สะกด “ก” หรือ “ค” นิ) เนื่องจาก 10 ปีที่เคยตรวจทุกอย่างปกติ เมื่ออายุปาเข้าไปเลข 4 อะไรก็สูง (อายุด้วย)

หมอแนะนำให้ควบคุมอาหารมัน และออกกำลังกาย เลยต้องปรับพฤติกรรมเปลี่ยนนิสัย จากที่ทำงานเลิกเย็น-ค่ำ ต้องหยุดพักเพื่อออกกำลังกาย ซึ่งก็รออุปกรณ์การออกกำลังสำหรับ (ผู้สูงอายุ) คือรองเท้าครับ เพราะอายุรุ่นนี้แล้วต้องห่วงสุขภาพ เดี่ยวเจ็บโน้นเจ็บนี้ โดยเฉพาะหัวเข่าตอนนี้ ปวดนิดๆ เนื่องยืนสอนตลอดเวลา เพราะนั่งแล้วสอนไม่เต็มที่ บางครั้งก็ยืนพูดเอา 2 ชั่วโมงเต็ม เพลินไม่รู้ตัว

เลยสั่งรองเท้าสำหรับวิ่งเพื่อป้องกันสุขภาพสักหน่อย จะได้ปลอดภันสำหรับข้อเข่า ก็เลือก รองเท้า Adidas จากที่สอบถามเพื่อนผู้รู้แนะนำครับ พอดีรุ่นที่ลดราคาเนื่องจากตกรุ่น ไม่มีเบอร์ที่ต้องการ เป็นเบอร์ใหญ่ เลยเลือกเอารุ่นใหม่ เพราะมีเบอร์ขนาดเท้าพอดี การวัดเบอร์ก็เป็นแบบ UK ครับไม่มีขนาดแบบของไทย แต่ก็วัดตามที่เค้าแจ้งในเว็บ ผมเลือก ไซน์ 6 ครับ ความยาวเท้า ประมาณ 9.8

เมื่อมาเทียบกับเบอร์รองเท้าแบบของไทย ก็พอดีกันเลยครับ ขนาด 39 รองใส่แล้วกระชับและนุ่มดีมากครับ (แนะนำ)

เป็นรองเท้าสำหรับวิ่ง สั่งซื้อจากเว็บไซต์ครับของ Adidas ประเทศไทยครับ สะดวกดี ส่งถึงหน้าบ้าน ใช้เวลาแค่ 2 วันก็ได้รับของเลยครับ รวดเร็วใช้ได้ ดูจากขนาดในเว็บไซต์เค้าแยกขนาดเบอร์รองเท้าระหว่าง หญิงกับ ชาย ซึ่งขนาดเท้าผู้หญิงจะโตกว่าครับ

เลือกรองเท้าอย่างไรให้ใส่พอดี(ข้อมูลจากเว็บไซต์)

ย่างแรก อย่าวัดขนาดเท้าของคุณในเวลาเช้า เพราะฝ่าเท้าจะขยายออกระหว่างวันเนื่องจากความร้อนและการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อการสวมใส่ที่พอดีที่สุด ควรวัดเท้าของคุณในช่วงเย็น จะเป็นช่วงที่เท้ามีการขยายตัวสูงสุดแล้ว .
การวัดขนาดรองเท้ามีดังนี้:

1. ความยาวจากปลายเท้าถึงส้นเท้า
วางแผ่นกระดาษให้ด้านหนึ่งชนกับกำแพง จากนั้นยืนบนกระดาษโดยเอาส้นเท้าชนกับกำแพง เอาดินสอขีดเส้นบนกระดาษตรงปลายเท้าของคุณ วัดความยาวจากกระดาษด้านที่ชนกับกำแพง(ด้านส้นเท้าของคุณ)ถึงเส้นที่คุณใช้ดินสอขีดไว้ และนำมาวัดกับตารางวัดขนาดของเรา

(เรื่องเล่าเยอะครับ อยากโม้บ้าง)

หลังจากคุมนักเรียนเสร็จจากโครงการรินน้ำใจสู่น้องชาวใต้ เสร็จก็เดินทางกลับต่างจังหวัด ก็ลุ้นอีกแล้ว (ปกติผมจะทดสอบอะไรไปเลื่อยๆ ครั้งก่อนเข้ามาเลเซีย น้ำมันทำท่าจะหมดตอนหลงทาง ก็ลุ่นว่าจะถึงไทยเปล่า ตอนนี้น้ำหมันก็ทำท่าจะหมด กลับต่างจังหวัด รอลุ่นว่าจะถึงปั้มเปล่า …. สุดท้ายก็ถึงพอดี) ต้องทดสอบแบบนี้แหละครับ ครั้งหลังเราจะได้คำนวณการเดินทางถูกว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ ในขณะที่น้ำมันเหลือเท่านี้


วีระศักดิ์ พัทบุรี
19/11/2559

แสดงความคิดผ่าน Facebook