เดนมาร์ก เป็นประเทศที่นักเรียนมี “ความสุข” มากที่สุดในโลก
สนทนาการศึกษา พฤศจิกายน 26th, 2016ในปี 2016 เดนมาร์กได้รับการประกาศอีกครั้งว่าเป็นประเทศมีความสุขที่สุดในโลก ในหนังสือของ Malene Rydahl ชื่อว่า Happy as a Dane ซึ่งกล่าวถึงหลักการตามที่ระดับสูงของความเป็นอยู่ในประเทศที่ถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยหลัก 5 ประการดังนี้
1. การมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีที่สุด ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต
(Being the best isn’t the main thing in life)
2. การรู้จักตัวเองสำคัญพอๆ กับความสามารถในการเขียนได้และอ่านได้
(Knowing how to be yourself is just as important as being able to read and write)
3. ไม่ส่งเสริมวิธีการเรียนแบบท่องจำ
(Rote learning should not be encouraged)
4. ระบบการศึกษาที่ไม่ได้วัดความเก่งกันที่คะแนนสอบ หรือเกรด
(It’s not the result but the student’s well-being that counts)
5. ทุกๆ คนควรได้รับสิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน
(Everyone should have an equal chance)
ซึ่งรายละเอียดน่าสนใจมาก เพิ่มเติมได้ที่ brightside.me
แต่ที่นำมาเสนอในบทความนี้ เนื่องจาก ตรงกับประเด็นที่ผมได้ดำเนินการและให้ความสนใจมานานมากแล้วเกี่ยวกับแนวคิด การสร้างห้องเรียนและการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนมีความสุข และ การพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียน อันนำไปสู่การประสบความสำเร็จในชีวิต
ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ก็ได้ปฏิบัติควบคู่กับการเรียนการสอนมาโดยตลอด แต่รู้สึกจะนำเสนอหรืออธิบายใคร ก็หามีใครสนใจไม่ ส่วนใหญ่ก็มุ่งแต่การเรียนการสอนในตำราและสนใจเรื่องอื่น… ซะมากกว่า เลยรู้สึกเหนื่อยล้า และช่วงหลังๆ ผมก็เบาๆ กับเรื่องราวเหล่านี้ไปบ้างแล้ว
ส่วนใหญ่แนวคิดผมจะมองไปล่วงหน้า 2-3 ปี เกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา และการนำแนวคิดเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน รวมทั้งระบบไอที จนอาจจะไม่มีใครเข้าใจในสิ่งที่พูดและสิ่งที่ทำ ผลเห็นได้จาก สิ่งที่ผมนำเสนอไปเมื่อนานแล้วแต่กลับเพิ่งเริ่มต้นคิดจะทำ หรือไม่ก็หายเงียบไปเลย นั่นหมายถึงการอยู่กับที่ หรือไม่ก็ถอยหลัง (ซึ่งในเรื่องเทคโนโลยี หากอยู่กับที่่ ก็คือ การถอยหลังทันที)
อีกอย่าง “คนที่เป็นครู ต้องเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน” และมองอนาคตให้กับนักเรียน ต้องคาดการณ์ล่วงหน้าว่าเรื่องใด ที่นักเรียนจำเป็นต้องรู้ในเวลานี้
ซึ่งเรื่องที่กล่าวมา แสดงว่าผมก็มองการศึกษาได้อย่างสากลเช่นกัน (ยอตนเอง) เพราะสอดคล้องกับแนวคิดการศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้ว เพียงแต่ไม่สามารถทำได้อย่างเป็นระบบ และเป็นเสียงส่วนน้อย (หาผู้นำทางการศึกษาที่แท้จริง…ยาก ในวงการศึกษาไทย)