ในระหว่างคาบที่ให้นักเรียนสืบค้นทำรายงาน ก็พอมีเวลานำเสนอเรื่องของ “ความรู้ ” กับ “ประสบการณ์”  ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจแต่ในการแสวงหาความรู้ และแข่งกันรู้ แต่ในความเป็นจริงเมื่อไปปฏิบัติงานจะพบว่า หากมีแต่ความรู้อย่างเดียวจะไม่สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจ และไม่สามารถแก้ปัญหาได้เลย เพราะไม่มีประสบการณ์

ผลการค้นหารูปภาพ

เรื่องราวเหล่านี้ตอบได้โดยไม่ต้องทำวิจัยอีกเช่นกัน เพราะประสบการณ์จากการทำงานและสิ่งแวดล้อมที่สัมผัส เป็นเช่นนั้นจริง ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว การเรียนการสอนจะเน้นไปในด้านการคิด วิเคราะห์ และตกผลึกทางความคิด คนในวัยเรียนรู้ว่าตนถนัดอะไร อยากทำอาชีพอะไรในอนาคต ตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้มีเวลาเตรียมตัวในการเลือกเรียนสิ่งที่ตัวเองชอบ 

ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยที่กว่าจะรู้ว่าตนเองถนัดอะไรหรือชอบอะไร อายุก็เกินเลข 2 มาบ้างแล้ว หรือใครที่รู้เร็วหน่อยก็ถือว่าเป็นโชคดี ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรเปลี่ยนแปลง? สิ่งสำคัญคือการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพที่เราสนใจให้มากที่สุด และเป็นอาชีพที่ตลาดมีความต้องการหรือไม่ ซึ่งบางมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเล็งเห็นถึงปัญหาจึงมีนโยบายในการปรับเพิ่มหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น

อันนี้เราก็เห็นอยู่บ่อยๆ ในข่าวเกี่ยวกับศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาจะมุ่งเน้นความถนัดและการพัฒนาเรื่องของความคิด มีหนังสือที่เคยอ่านแล้วน่าสนใจมาก คือ ทักษะสำคัญกว่าความรู้ หรือจากคำกล่าวของ อัลเบิร์ต ไอสไตล์ “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” เป็นต้น

และจากงานวิจัยได้มีโอกาสศึกษาเรื่องของ สมรรถนะ จะเห็นได้ว่าประสบการณ์ก็มีความสำคัญเช่นกัน

ผลการค้นหารูปภาพ

หากมองจากภาพที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และประสบกาณ์แล้วจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนดังภาพ 

ผลการค้นหารูปภาพ

โดยสรุป คือ ประสบการณ์มีความสำคัญ นั่นคือ ในการทำงานต้องใช้ความรู้ ซึ่งในบางครั้งก็ถูกบ้างผิดบ้าง ถือเป็นประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน หากเรียนรู้และฝึกปฏิบัติบ่อยๆ ก็จะทำให้มีประสบการณ์มากขึ้น จนอาจเกิดเป็นปัญญาเพื่อใช้แก้ปัญหาในครั้งต่อไป

 

แสดงความคิดผ่าน Facebook