Active Learning

การศึกษาไทยเปรียบเสมือน “เรือ” ที่ลอยอยู่กลางแม่น้ำที่ไร้กระแสน้ำ แต่รอกระแสลม รอบทิศทางที่จะพัดไปทางใดก็ไม่รู้ ไร้ซึ่งทิศทาง ลมทิศไหนมาแรงก็พัดไปตามกระแส ซึ่งหากต้องการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง ก็ควรมองว่าจะไปทิศทางใด หากไม่สามารถควบคุมทิศทางลมได้ ก็ควรปรับใบพัดเรือ ให้ไปตามทิศทางที่ต้องการ เปรียบเสมือน เห็นฝั่งที่กำลังจะไป

เรื่องราว Active Learning ก็เล่าขานกันมาแล้ว ช่วงๆ หลังเห็นมีข่าวบ่อย ก็คงจะคุ้นเคยกับคำๆ นี้ ที่ผ่านมาก็ได้กระตุ้นและส่งเสริมกันมาบ้างแล้ว แต่ทำไมยังไม่เห็นผลอะไรออกมาชัดเจน ควรหาสาเหตุให้แน่ชัดว่า การศึกษาไทยเป็นเช่นนี้เพราะอะไร ไม่ใช่หาทางแก้ไปไม่มีวันสิ้นสุด สุดท้ายก็วนเวียนอยู่กลางแม่น้ำสายเดิม

มีเอกสาร หนังสือและสื่อแหล่งต่างๆ  มากมายที่กล่าวถึง เรื่อง Acive Learning แล้วต้องทำอย่างไร

หลักการเรียนการสอนแบบ Active Learning

  1. คุณสมบัติ บทบาท และหน้าที่ของผู้สอน
  2. คุณสมบัติ บทบาทและ หน้าที่ของผู้เรียน
  3. ลักษณะของกิจกรรมในการเรียนการสอน
  4. ลักษณะของหนังสือ เรียน ตําราและสื่อการ เรียนรู้ต่าง ๆ
  5. การวัดและประเมินผล

แต่ละหัวข้อหมายถึงอะไร และมีหลักการอย่างไร

คุณสมบัติ บทบาท และหน้าที่ของผู้สอน

• มีทัศนคติที่ดีและเห็นความสําคัญของ Active Learning

• มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Active Learning

• เป็นผู้เปิดกว้างทางความคิด

• กําหนดเป้าหมายการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้เรียน

• มีความเชื่อในหลักการเรียนการสอนแบบ Active Learning

• มีความเต็มใจที่จะเปลี่ยนบทบาทของตน

• มีความอดทน

• แนะนํากลวิธีการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

• มีความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

• มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอนแบบ Active Learning

• กระตุ้นและตั้งคําถามให้ผู้เรียนได้คิด

• ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน

• มีการเตรียมตัวนักศึกษา

• ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุดในทุกกระบวนการของการเรียนการสอน

• มีความสามารถในการคัดเลือก ออกแบบและผลิตหนังสือ ตํารา สื่อการ เรียนรู้

• ควรเป็นผู้คิดทํากิจกรรมที่เน้นกระบวนการคิดและมีส่วนร่วมของ นักเรียน

• เป็นผู้คอยช่วยเหลืออํานวยความสะดวก (Facilitator) ในขณะนักเรียนทํา กิจกรรม

• เข้าใจว่าผู้เรียนมีความแตกต่างกันหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านรูปแบบ การเรียนรู้ แรงจูงใจ ความสนใจ ความชอบ ระดับความสามารถ

• เป็นผู้กระตุ้นให้กิจกรรมดําเนินไปอย่างสนุกสนานและบรรลุผล

• เป็นผู้สังเกตและสรุปผลที่ได้จากกิจกรรมที่นักเรียนทําเพื่อนําผลไปปรับปรุง กิจกรรมต่อไป

คุณสมบัติ บทบาทและ หน้าที่ของผู้เรียน

• มีทัศนคติที่ดีและเห็นความสําคัญของ Active Learning

• เป็นผู้เปิดกว้างทางความคิด

• มีส่วนร่วมกับทุกกระบวนการเรียนรู้

• เต็มใจที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน

• ยอมรับฟั งความคิดเห็นที่แตกต่างและคําวิจารณ์

• มีเป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจน

• มีส่วนร่วมกับกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น

• เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่กําลังทําอยู่

• มีส่วนร่วมในกระบวนการคิดขั้นสูง

• เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ/ทํากิจกรรม

• กําหนดวัตถุประสงค์และมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการเรียน

• มีทักษะในการค้นคว้า ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

• เป็นผู้คิดหรือลงมือทํากิจกรรมด้วยตนเองอย่างกระตือรือร้น

• เป็นผู้ดําเนินกิจกรรมหลัก ๆ โดยมีครูเป็นผู้ให้คําปรึกษา

• เป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้จากกิจกรรมและจากการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นจากเพื่อนที่ทํากิจกรรมร่วมกัน

• ยอมรับความแตกต่าง

• เป็นผู้มีวินัย

ลักษณะของกิจกรรมในการเรียนการสอน

• กิจกรรมควรส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ คิด/วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น

• กิจกรรมควรมีความหลากหลาย เพื่อให้เหมาะกับความแตกต่างของผู้เรียน

• กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้สํารวจ เสาะแสวงหาความรู้

• กิจกรรมควรให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห้น

• กิจกรรมควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึ กทักษะในการประเมิน

• กิจกรรมควรให้ผู้เรียนได้ฝึ กทักษะการแก้ปัญหา

• กิจกรรมควรให้มีทั้งกิจกรรมเดี่ยว คู่และกลุ่ม

• ควรมีกิจกรรมที่ผู้เรียนร่วมมือกันและแบ่งปันกัน

• กิจกรรมควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทําโครงงานหรือชิ้นงานที่ผู้เรียนจะได้ทําในชีวิตจริงนอกชั้น เรียน (authentic tasks / projects)

• กิจกรรมควรมีความหลากหลายสามารถทําได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

• กิจกรรมควรให้ใช้ได้กับทุกขนาดห้องเรียน ทั้งห้องเรียนที่มีผู้เรียนมากและน้อย ใช้ได้กับทุก ระดับการศึกษาและความสามารถของผู้เรียน

• ควรมีกิจกรรมร่วมมือกัน เช่น Think – Pair – Share

• ควรมีกิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมเพื่อชุมชน

• ควรให้ใช้เกมส์และเทคโนโลยี

• ควรมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้เรียน

• กิจกรรมควรให้ผู้เรียนได้แบ่งปันประสบการณ์ความคิดเห็น

ลักษณะของหนังสือ เรียน ตําราและสื่อการ เรียนรู้ต่าง ๆ

– ควรเป็ นสื่อที่พบในชีวิตจริง (authentic materials)

– ควรมีความทันสมัยและร่วม สมัย

– ควรนําสื่อผสมผสานมาใช้

– ควรมีความหลากหลาย

– ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการ เลือก materials ต่าง ๆ รวมถึงวิธีการทํากิจกรรม

– ควรใช้เทคโนโลยีหรือสิ่ง สนับสนุนกิจกรรมการมี ส่วนร่วม เช่น การ์ดเกมส์

การวัดและประเมินผล

• ทุกคนควรมีโอกาสในการประเมิน เช่น ครูประเมินผู้เรียน ผู้เรียน ประเมินเพื่อน ผู้เรียนประเมินตนเอง

• ควรให้ผู้เรียนได้สะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้และนํามา แลกเปลี่ยนกัน

• ผู้เรียนควรได้รับผลป้อนกลับเพื่อเกิดการพัฒนา

• ควรใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายวิธีและเน้นการปฏิบัติจริง

• ควรมีเกณฑ์ในการวัดและประเมินผลชัดเจน

• การประเมินควรสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

• ควรมีวิธีการประเมินถูกต้องเหมาะสมกับทักษะที่ต้องการประเมิน

• ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการกําหนดการวัดและประเมินผล

• ควรมีแบบประเมินตามกิจกรรมที่กําหนด

• ครูควรสังเกตนักเรียนระหว่างทํากิจกรรม

ที่มา http://litu.tu.ac.th

จากข่าวการศึกษาที่ปรากฎ ก็น่าจะเห็นเป็นรูปธรรม ที่ให้ครูเน้นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จะส่งผลทำให้นักเรียนไทยพัฒนาสมรรถนะสำคัญได้แก่

  1. สมรรถนะการคิดวิเคราะห์
  2. สมรรถนะการทำงานเป็นทีม
  3. สมรรถนะการแก้ปัญหาค่านิยมระดับจิตวิญญาณ
  4. สมรรถนะด้านการสื่อสาร

อันจะส่งผลให้เกิดเป็นความรู้ ความเข้าใจในระดับหลักการ จนสามารถสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเองได้

นั่นเป็นนโยบายจาก ฝ่ายบริหาร แต่เมื่อถึงฝ่ายปฏิบัติ จะเป็นเช่นไร ก็คงต้องช่วยกัน

แสดงความคิดผ่าน Facebook