สาเหตุหนึ่งของความขัดแย้ง เกิดจากกระบวนการสื่อสาร พูดง่ายๆ ทะเลาะกันเพราะการพูดจาที่ไม่เข้าใจกัน ฉะนั้นเพื่อป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดจากการสนทนากันจึงจำเป็นต้องมีทักษะ “การพูด” และ ทักษะ “การฟัง”

ก็ไม่ทราบว่าส่วนใหญ่จะเป็นเหตุมากกว่ากัน ระหว่างการพูดกับการฟัง บางครั้งเราก็ไม่สามารถระงับความขัดแย้งจากจุดเริ่มต้นได้ (นั่นคือการพูด) เลยจำเป็นต้องป้องกันให้เกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด (นั่นคือการฟัง)

การฟังอย่างมีสติ (Mindfulness Listening) จึงเป็นสิ่งสำคัญไม่เกิดความขัดแย้ง และเป็นหนทางหนึ่งในการรับฟังปัญหา ซึ่งผู้คนทั่วโลกก็ให้ความสนใจเรื่องนี้ แม้กระทั่งรายการดังๆอย่าง TED ก็มีนักพูดกล่าวถึงเรื่องนี้ ดังที่

Julian Treasure: จูเลี่ยน เทรเชอร์: 5 วิธีไปสู่การรับฟังที่ดีกว่า

หลักสำคัญของการสนทนาอย่างมีความสุข คือ “เงียบและฟัง”

โดยปกติคนเราในทุกๆ วันจะมีสัญญาณ ข้อความ หรือคำแนะนำที่สร้างแรงบันดาลให้ชีวิต แต่จะสังเกตได้เฉพาะตอนที่เราเปิดใจรับเท่านั้น เพราะความวุ่นวายที่วนเวียนรอบตัวทุกวันนี้อาจเป็นเรื่องยากที่จะรับรู้ถึงสัญญาณดีๆ ที่สอดแทรกเข้ามา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเงียบและหรี่หูฟัง

แต่บางคนเราก็แตกต่างกันด้วยประสบการณ์ ทักษะนี้จึงจำเป็นต้องฝึกฝนและมีสติตลอดเวลา

การตั้งใจฟัง ไม่ใช่การฟังอย่างมีสติ แต่ต้องเป็นการฟังที่ยู่ในปัจจุบันขณะกับคู่สนทนาตรงหน้าด้วยการให้ความสนใจ ไม่ว่อกแว่ก ไม่ด่วนตัดสินหรือชิงให้ความเห็น  และผู้ฟังยังสามารถเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นของผู้พูดที่มีต่อเนื้อความนั้น และยังสามารถสะท้อนความรู้สึกนั้นออกมาเพื่อแสดงความเข้าใจและเห็นใจ

จากประสบการณ์ ผมเคยตั้งใจฟังอย่างมีสติ แต่เมื่อสื่อสารกับตรงกันข้ามเพราะบางครั้งอีกฝ่ายไม่ได้ฟังอย่างมีสติ หรือไม่ตัวเราเองสื่อสารไม่ถูกต้อง ฉะนั้นจึงต้องฝึก พูดและฟังอย่างมีสติ แล้วความขัดแย้งจะหายไป

แสดงความคิดผ่าน Facebook