เห็นหัวข้อแล้วน่าสนใจ โดยเฉพาะคำว่า Wisdom เลยนำมาประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม แต่เนื้อหาที่สำคัญคือ การเรียนออนไลน์ฟรี ครับ และหลักสูตรก็น่าสนใจมากๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ Thailand Cyber University เปิดให้ผู้ที่สนใจเรียนออนไลน์ฟรี (MOOC) กว่า 30 กระบวนวิชา ไม่ว่าจะเป็นวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่สอนโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่สำคัญ ได้รับใบประกาศนียบัตรทันทีเมื่อเรียนจบ (ว่างๆ ก็อยากลองดูครับ เพราะชอบศึกษาเรียนรู้อยู่แล้ว ยิ่งเวลาส่วนใหญ่ก็อยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ หากได้ศึกษาความรู้แล้วได้ประกาศนีบัตรด้วยก็ดีมาก เพราะไม่ต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่าย ใช้จ่าย ค่าเดินทาง และอะไรอีกมากมาย เหมือนโครงการพัฒนาครูที่กำลังทำกันอยู่ อิอิ)

วิธีการสมัคร

เข้าไปเรียนรู้ด้วยตนเองได้ที่ mooc.cmu.ac.th

ย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้นที่ผมได้นำเรื่องนี้มาประชาสัมพันธ์ ก็เหตุจากคำว่า Wisdom ซึ่ง เป็นคำที่มีการกล่าวกันมาเนิ่นนานแล้วในวงการศึกษา ในเรื่องของความรู้และการจ้ดการความรู้ มีทั้งคำแปลว่า “ปัญญา” และ “ภูมิปัญญา” ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอ้างอิง เดโอะ ยามาซากิ (Hideo Yamazaki) นักวิชาการชาวญี่ปุ่น

ได้ให้คำจำกัดความของความรู้ในรูปแบบ ของปิรามิด ซึ่งมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ ปิรามิดความรู้ ระดับชั้นของความรู้หรือโครงสร้างของความรู้ เป็นต้น โดยให้ความหมายของระดับต่างๆไว้ดังนี้
1. ข้อมูล (Data) คือข้อเท็จจริง ข้อมูลดิบ หรือตัวเลขต่าง ๆ ที่ยังไม่ผ่านการแปลความ

2. สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ วิเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการและตัดสินใจ มีบริบทซึ่งเกิดจากความเชื่อ สามัญสำนึกหรือประสบการณ์ของผู้ใช้สารสนเทศนั้น มักอยู่ในรูปข้อมูลที่วัดได้หรือจับต้องได้

3. ความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้โดยไม่จำกัดช่วงเวลา

4. ปัญญา (Wisdom) คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคนก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำ ไปใช้งาน
อ้างอิง (บุญดีบุญญากิจ, นงลักษณ์ ประสพสุขโชคชัย, ดิสพงศ์ พรชนกนาถ และปรียาวรรณ กรรณด้วน, 2549)

อืม รู้สึกเหนื่อยกับการเขียนเนื้อหาทางวิชาการ ต้องหาอ้างอิงอะไรต่างๆมากมาย ด้วยเพราะเมื่อนำไปพูดแล้ว มีคนไม่เข้าใจ และแสดงความคิดเห็นต่างๆ นานาๆ เลยต้องมีแหล่งอ้างอิงครับ

อ้างอิงจาก https://www.east.spu.ac.th/journal/booksearch/upload/1565-1602_10.pdf
อ้างอิงจาก https://www.slideshare.net/Cuproperty/km-cream

เหตุที่นำ 2 ภาพนี้มาประกอบ เนื่องจากใช้คำว่า “ปัญญา” ครับ ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ต่างกับ “ความรู้”

ส่วนรูปนี้ใช้คำว่า “ภูมิปัญญา”

ซึ่ง การนำความรู้ไปพัฒนาองค์กร กับนำปัญญาไปพัฒนาองค์กร ผลลัพธ์ที่ได้ต้องแตกต่างอยางแน่นอนครับ 🙂

แสดงความคิดผ่าน Facebook