ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ข้อกำหนดต่างๆในสังคม ตามไม่ทันกับกระแสในยุคใหม่นี้ ในอดีตจำความได้มีมารยาทในสังคมทั่วไป แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไปเป็นสังคมในโลกการสื่อสารไร้พรมแดน ซึ่งเป็นสังคมออนไลน์ หรือสื่อสังคมออนไลน์ หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ที่เป็นลักษณะของสังคมยุคใหม่ที่อยู่บนโลกออนไลน์ อาจจะยังไม่มีการกำหนดกฎระเบียบหรือมารยาทอย่างชัดเจน คงต้องใช้ความเหมาะสมและประสบการณ์ของแต่ละคนวิเคราะห์กันเอง ว่าเหมาะสมหรือไม่หรือสมควรหรือไม่

จากข่าวและเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา คงจะพอเห็นข่าวคราวกันบ้างเกี่ยวกับการใช้สังคมออนไลน์ที่นับวันจะมีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก จนเปลี่ยนวิถีชีวิตของคน แถมจะอาจเปลี่ยนความคิดคน หรือนิสัยคนก็เป็นไปได้

จากที่ทุคนสามารถลงชื่อเป็นเข้าของที่อยู่บนโลกออนไลน์ได้ง่ายกว่าเมื่อ 5-8 ก่อน ทำให้ทุกเพศทุกวัย ใช้สังคมออนไลน์กันอย่างขาดความตระหนักถึงผลกระทบและไม่สนใจอะไรไปกว่า เรื่องราวในโลกออนไลน์ ทั้งๆ สื่อเหล่านั้นโดยคุณสมบัติแล้วมีประโยชน์มากกมายมหาศาล แต่ขึ้นอยู่กับว่าใครจะใช้ในด้้านใดและอย่างไร

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

สิ่งดีๆ อาจจะต้องใช้เวลาสะสม บ่มเพาะกว่าจะเห็นผล และสิ่งที่เป็นทางลบเพียงเสี้ยววินาทีก็เกิดผลแล้ว กระแสเหล่านี้เกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว จนถึงปัจจุบันก็ยิ่งทวีจำนวนผู้ใช้ (ไม่สร้างสรรค์) เพิ่มขึ้น เคยเห็นข่าวในต่างประเทศที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งเชิญลูกค้าออกจากร้านเนื่องจากมาทานอาหารกัน 2 คนแล้วมัวแต่นั่งแชทกันอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นการเสียมารยาท และอีกหลายๆ ที่ (จำไม่ได้) แต่มีที่แปลกว่านั้นครับ “ร้านอาหารนิวยอร์กเปิดประสบการณ์ “ความสงบ” ห้ามลูกค้าพูดคุยกันตอนกินข้าว” (โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 ตุลาคม 2556 18:48 น.)

ร้านอาหารนิวยอร์กเปิดประสบการณ์ “ความสงบ” ห้ามลูกค้าพูดคุยกันตอนกินข้าว
ลูกค้าบางคนที่อยากคุยแต่ไม่อยากฝืนกฎ เปลี่ยนมาใช้ภาษามือในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมโต๊ะแทน

เอเอฟพี – ใครบางคนกล่าวไว้ว่าความเงียบสงบบนโต๊ะอาหารนั้นเปรียบเสมือนทองคำ โดยเฉพาะที่มหานครนิวยอร์กอันพลุกพล่าน และของมีค่าชิ้นนี้เองที่เจ้าของร้านอาหารวัยหนุ่มนำมาเดิมพันกับลูกค้า ที่ถูกห้ามพูดคุยระหว่างรับประทานอาหารมื้อเย็นที่เสิร์ฟเป็น 4 คอร์สย่อยๆ

โครงการนี้ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อหนึ่งเดือนก่อนที่ร้าน “Eat” ในย่านกรีนพอยต์อันทันสมัยของเมืองบรูคลิน กำลังเป็นที่ร่ำลือกันในมหานครที่มีแต่ร้านอาหารเสียงดังเซ็งแซ่จนผู้คนพร่ำบ่นอยู่เป็นประจำ

สำหรับลูกค้าที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่เช่นนี้ จะต้องจองโต๊ะล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน จึงจะได้รับเอกสิทธิ์ในการรับประทานอาหารที่ห้ามไม่ให้อ้าปากพูดแม้แต่คำเดียว หรือมีเสียงของใครลอยมาให้ได้ยินแม้แต่นิด ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกคืนวันศุกร์หรือวันเสาร์ในห้องเล็กๆ ที่สามารถรับรองแขกได้ 25 ที่นั่ง

ส่วนในประเทศไทยก็มีข่าวมากมายโดยเฉพาะ Facebook โซเชียลมีเดียอันดับ 1 ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกก็คงต้องยกให้ Facebook ที่มีจำนวนผู้ใช้มากกว่า 1,100 ล้านคนไปแล้ว และประเทศไทยก็มียอดผู้ใช้งานที่ตอนนี้มีมากกว่า 26 ล้านคนไปแล้ว (มี LINE ตามติดอยู่ไม่ห่างนัก) ทาง Zocial Inc. เลยมีการรวบรวมข้อมูลการใช้งาน Facebook ของคนไทยมาเป็น Infographic ให้ได้ดูถึงการเติบโตที่นับวันจะยิ่งโตขึ้นเรื่อยๆ

ข้อมูลที่น่าสนใจมีดังนี้ (อ้างอิงจาก http://thumbsup.in.th/2014/03/facebook-growth-in-thailand-by-zocial-inc)

  • ในปี 2013 ประชากรใน Facebook มีทั้งหมดประมาณ 1,146 ล้านคนทั่วโลกและในต้นปี 2014 ที่ผ่านมา ประชากร Facebook โลกได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 3% เป็นทั้งหมด 1,191 ล้านคนทั่วโลก
  • ประเทศไทยมีจำนวนประชากร Facebook มากเป็นอันดับ 3 ของในกลุ่มอาเซียน เป็นรองประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนิเซีย โดยมีประชากร Facebook อยู่ที่ 26 ล้านคน เพศชาย ทั้งหมดประมาณ 12.7 ล้านคน(48.78%) , ประชากร เพศหญิง ทั้งหมดประมาณ 13.3 ล้านคน (51.22%)
  • ประชากร Facebook ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ (ประมาณ 14.4 ล้านคน) รองลงมาเป็น เชียงใหม่ (ประมาณ 860,000 คน) และชลบุรี (ประมาณ 500,000 คน)
  • พบว่ามีผู้ใช้ที่เป็น Active User มีมากถึง 85.63% ส่วนที่เหลืออีก 14.37% เป็น Inactive User หรือกลุ่มคนที่ไม่ค่อยใช้งาน

สำหรับข้อมูลอื่นๆ สามารถอ่านได้เพิ่มเติมที่ Infographic ด้านล่างนี้ครับ

facebook_info2

 

และจากหัวข้อข่าว Social Media กำลังบั่นทอนความสัมพันธ์ในโลกแห่งความจริงของคุณหรือเปล่า [INFOGRAPHIC] จากเว็บไซต์ ไอที24ชั่วโมง วันที่: 16 มิถุนายน 2012

เป็นที่น่าสังเกตว่า 24 เปอร์เซนต์ของผู้ถูกสำรวจพบว่า พวกเขามีความสนใจในสิ่งรอบข้างลดน้อยลง พวกเขาขาดความสนุกสนานและมีส่วนร่วมกับช่วงเวลาดีๆในการสานสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง หากเทียบกับคนไทยจะเห็นว่า ไปตามร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ความสนใจจะเพ่งไปที่หน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ต หรือพะวงอยู่กับเอกสารที่แชร์ผ่านออนไลน์ เราควรจะมีสติเตือนตัวเองได้แล้วว่า ชีวิตของเราอยู่ตรงนี้ เป็นชีวิตจริง แทนที่จะเพ่งความสนใจก้มหน้าก้มตามองจอเล็กๆ โดยไม่สนใจคนรอบข้าง มัวแต่โพสข้อความลงทวิตเตอร์หรือมัวแต่ถ่ายรูปลง Instagram

ถ้ามองไปที่จำนวนผู้ใช้ Facebook ทั่วโลก ใช้เวลากว่า 10.5 พันล้านนาทีในการเข้าใช้งานในแต่ละวัน นี่ยังไม่รวมการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ และอีกสถิติคือเกือบ 20 ปีต่อวันที่ผู้คนเหล่านี้ใช้เวลาอยู่กับโลกออนไลน์แทนที่จะอยู่บนโลกแห่งความจริง (ออฟไลน์)

ซึ่งในต่างประเทศก็มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการใช้ Social Media ในหัวข้อ

My Life Without Facebook: A Social Experiment

อ่านเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ http://mashable.com/2011/12/20/my-life-off-of-facebook/

นอกจากนี้ก็ยังมีหัวข้อ

Facebook Etiquette มารยาทในการใช้เฟสบุ๊คที่คนรุ่นใหม่ควรรู้

เขียนโดย โดย  อ่านรายละเอียดได้จาก http://www.gotoknow.org/posts/440857

และก็ยังมีหัวข้อที่น่าสนใจอีกคือ ‘Look Up’ แค่เงยหน้าจากมือถือ ชีวิตคุณจะเปลี่ยนไปตลอดกาล

Read more: http://www.creativemove.com/advertising/look-up/#ixzz3D5NjVDqP

… อย่ามัวแต่ก้มหน้าก้มตาแชทจนพลาดโอกาสบางโอกาสไป

นอกจากที่เป็นข่าวและบทความแล้ว ในชีวิตประจำวันจริง ก็ยังคงพบเจอ มัวแต่สนใจอยู่กับการสนทนาออนไลน์ จนลืมสนใจคนรอบข้าง (เล็กๆ น้อยๆ ที่คุณอาจมองข้ามไป ) เพราะมันไม่ได้ทำให้คุณรู้สึกอะไร เครื่องมือวัด(ประสบการณ์ในตัวคุณ) อาจจะไม่แจ้งเตือนว่าเหมาะสมหรือไม่หรือต้องทำอย่างไร  ปัจจุบัน อาจเรียนได้ว่าเป็น “สังคมก้มหน้า”

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

อย่างที่เคยกล่าวไว้ในบทความเก่าๆ เกี่ยวกับความขัดแย้ง ก็ด้วยสาเหตุนี้มั้งครับที่เป็นส่วนหนึ่งของความคิดเห็นไม่ตรงกัน นำไปสู่ความขัดแย้ง จุดเริ่มต้นของการทะเลาะกัน ไม่ลงรอยกัน เสียความรู้ หรืออะไรต่อมิอะไร หรือต้องหยุดพูดคุยในชีวิตประจำวัน เพื่อลดความขัดแย้ง แล้วหันไปสนทนาออนไลน์กันแทน ซึ่งรับรู้แต่อักษรแต่อาจไม่รับรู้เรื่องความรู้สึก

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

 

แสดงความคิดผ่าน Facebook