อ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องราวแห่งความสำเร็จในชีวิต อยู่หลายเว็บไซต์ ส่วนใหญ่กล่าวถึง นโปเลียน ฮิลล์ ซึ่งดูชื่อแล้วคุ้นๆ ยังไงไม่รู้ และในบทความก็ยังถามว่าใครเคยอ่าน THE LAW OF SUCCESS (ปรัชญาชีวิต ศาสตร์แห่งความสำเร็จ) บ้าง ก็คุ้นๆ อีก เลยไปหยิบหนังสือในชั้น อ่าวตกลงเล่านี้นี่เอง ซึ่งพ่อได้มาจากที่ๆหนึ่งและยื่นมาให้อ่านนานมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังอ่านไม่จบ เพราะมัวแต่อ่านเอกสารเพื่อทำรายงานวิจัย ทั้ง ป.เอก และ คศ.3 (นั่นแสดงว่าเรามีหนังสือที่ดีเล่มหนึ่งในมือ สินะ) เป็นเล่มที่ตีพิมพ์ครั้งที่ 6 

สำหรับผมแล้วเมื่อก่อนคิดว่าเรื่องราวเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ไกลตัว อ่านยังไงก็คงไม่เหมาะกับเรา เพราะส่วนใหญ่จะอ่านหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่ทุกวันรู้แล้วว่าเรื่องราวเหล่านี้แหละที่เราต้องศึกษาให้มากๆ เพราะเป็นชีวิตที่เราต้องเรียนรู้ และทุกเรื่องราวในปัจจุบันก็หนีไม่พ้นเรื่องเหล่านี้ ซึ่งก็มีเขียนไว้นานแล้ว แต่สามารถนำมาไปได้จริงในชีวิตจริงขณะนี้

ดูจากหน้าปก มีก็หัวข้อเกี่ยวกับ

  1. อภิจิต
  2. เป้าหมายสำคัญที่แน่นอน
  3. ความเชื่อมั่นในตนเอง
  4. นิสัยประหยัดอดออม
  5. ความคิดริเริ่มและการเป็นผู้นำ
  6. จินตนาการ
  7. ความกระตือรือร้น
  8. การควบคุมตนเอง

โอ้วดูจากหัวเราแล้ว เป็นเรื่องที่ผมสนใจอยู่ทั้งนั้นในตอนนี้ ซึ่งเวลามันผ่านมานานมากแล้วกว่า 6 ปี ก่อนที่ผมจะเริ่มเรียนปริญญาเอก ซะอีก

จำความได้ว่าในหนังสือได้เสนอแนวคิดว่า

“คนที่ประสบความสำเร็จจากการจินตนาการจะต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองก่อน เพราะความเชื่อมั่นในตนเอง ต้องเกิดจากการจินตนาขึ้นมาก่อน”

นอกจากนี้ได้แนวคิดอีกว่า

“ความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของการต่อสู้อันยิ่งใหญ่ เพื่อความสำเร็จ”

จุดเปลี่ยนชีวิตของ นโปเลียน ฮิลล์ เกิดขึ้นเมื่อได้รับมอบหมายให้ไปสัมภาษณ์มหาเศรษฐีใจบุญ เจ้าของอุตสาหกรรมเหล็กและน้ำมัน ผู้มีนามว่า แอนดรู คาร์เนกี ซึ่งเขาต้องใช้ความพยายามอย่างสูง อย่างน้อย 20 ปีและไม่ได้รับเงินจากการสัมภาษณ์ แถมผลงานที่ทำก็ไม่ได้มีอะไรมารับประกันว่าจะเป็นที่รู้จัก แต่ตลอดเวลาที่ทำการวิจัย  นโปเลียน ฮิลล์  ต้องวิเคราะห์ข้อมูลผู้ล้มเหลวมากกว่า25,000 คน และผู้ประสบความสำเร็จอีกมากกว่า 500 คน สุดท้ายการวิจัยก็เป็นที่มาของหนังสือ

The Law of Success (ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1928) และ Think and Grow Rich (ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1937)

เรื่องราวของ นโปเลียน ฮิลล์ สรุปบทเรียน ให้ข้อคิด ได้ดังนี้

1. ความยากจนทำให้ความคิดติดอยู่ในกรอบ

2. หากมีความคิดที่ดี และมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าย่อมมีผู้สนับสนุน

3. งานใหญ่จะสำเร็จได้ ต้องมีผู้สนับสนุนที่ดี

4. การเริ่มต้นขอความช่วยเหลือเรื่องเงิน เป็นสิ่งที่ยาก

5. ทำในสิ่งที่รัก แล้วเงินจะตามมา

เห็นยังครับว่า คนเรากว่าจะประสบความสำเร็จต้องใช้เวลาและความอดทนมากเท่าไหร่ นี่กว่า 20 ปีที่ทำงานไม่ได้เงินเลย แล้วเราที่เป็นครูละครับ ทำไม่ทำก็ได้เงิน (แต่งานที่ทำคุ้มกับเงินที่ได้หรือเปล่า) คนส่วนใหญ่อยากได้เงินและไม่อยากทำงาน หรือทำได้สบายแล้วได้เงินเยอะๆ และต้องการประสบความสำเร็จ (แล้วมันจะเป็นไปได้ไหมนี่) อิอิ สรุปแค่อยากจะกล่าวให้ทราบว่า ทำงานให้คุ้มกับที่ประเทศชาติให้ อย่าหวังอะไรมาก อย่างน้อยสิ่งที่ทำจะทำให้เราได้เรียนรู้และประสบความสำเร็จ อาจไม่ทันทีแต่ได้แน่นอน 🙂

นอกจากเรื่องราวที่กว่ามา เหลือเชื่อว่า นโปเลียน ฮิลล์ ยังพูดเรื่องของจิตด้วย ซึ่งผู้แปลใช้คำว่า อภิจิต เป็นเรื่องที่ผมได้ศึกษาบ้างนิดหน่อย ตอนทำวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก มีเหตุให้ต้องศึกษาครับ แต่ก็ยังไม่ได้ลึกอะไรมากมาย

นโปลเลียน ฮิลล์ กล่าวถึง เรื่อง อภิจิต ในบทที่ 1 หน้า 1 เลยว่า “ท่านทำได้ ถ้าท่านเชื่อว่าท่านทำได้” 

“ไม่มีคนผู้ใดจะสามารถได้รับความสุขจากความสำเร็จที่ยั่งยืน
จนกว่าเขาจะได้มองดูตัวเอง
และได้ค้นพบความผิดพลาดทั้งหมดของเขาเสียก่อน”

นโปเลียน ฮิลล์ ให้ข้อสังเกตว่า  พลังอภิจิต นี้ เกิดขึ้นจาก ภายในจิตใจของเรา เมื่อจิตใจรู้สึกอย่างไร ก็จะส่งคลื่น อินฟาเรด ที่ระดับความถี่ที่ต่างกัน ตามแต่ความรู้สึก ทำให้ระดับพลังงานของคลื่นที่แผ่ออกมาก ต่างกัน ดังนั้นเราจึงสามารถแยกแยะความรู้สึกที่รับรู้ได้ว่าต่างกัน

พลังอภิจิต อาจหมายถึง กระแสจิต ที่เราส่งไปรอบๆ ตัวเรา เหมือนเรามีความรู้สึกว่า มีคนกำลังมองเราอยู่ด้านหลัง เมื่อหันกลับไปก็ปรากฎว่ามีคนมองอยู่จริง หรือเมื่อเราเจอหน้าใครแล้ว รู้สึกถึงชโลก นั่นอาจเพราะเขาและเราส่งกระแสจิตที่เป็นมิตรถึงกัน และรับรู้ได้ (ประมาณนี้)

สรุปก็คือ คนเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ต้องหัดควบคุม ฝึกฝนจิตใจ ให้เข็มแข็ง ภาพหรือบทบาทภายนอกที่เราแสดงอยู่นั้น  ไม่สามารถหลอก ผู้คนได้ นอกเสียจากเราคิดอย่างนั้นจริง คนจึงจะเชื่อ ละนั่นเป็นที่มาของ ประโยคที่ว่า  หากคุณคิดว่า คุณทำได้ คุณจะทำได้ และทีมงานจะเชื่อว่าทำได้


วีระศักดิ์ พัทบุรี
11/11/2559

แสดงความคิดผ่าน Facebook