Digital Intelligence (DQ) คุณลักษณะและทักษะชีวิตในโลกยุคดิจิตอลหรือ ‘ความฉลาดทางดิจิตอล’ ที่ผ่านเราคุ้นเคยกันดีกับคำว่า IQ และ EQ ซึ่งในเรื่องของ EQ ก็มีการพูดถึงกันมาแสนนานแต่ผลก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ในการทำงานและการใช้ชีวิต EQ มีความสำคัญมาก และมันสามารถบ่งบอกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนได้ ก่อนกล่าวถึง DQ ก็ขอนำเสนอ EQ คร่าวๆ ก่อนที่จะตกยุคไป เพราะตัวผมเองก็ยังไม่ได้สัมผัสกับการพัฒนา EQ เท่าไหร่ก็โผล่ DQ มากอีกแล้ว

มีหนังสือมากมายกล่าวถึง ความสำเร็จในชีวิตกับ EQ ซึ่งในการวิจัยที่ผมได้มีโอกาสสัมผัสนิดๆ ในเรื่องของการพัฒนาสมรรถนะ ก็เกี่ยวข้องกับ EQ ซึ่งโกลแมน (Golemon, 1998) ได้จำแนก EQ ออกเป็น 2 สมรรถนะใหญ่ ๆ คือ
1. สมรรถนะส่วนบุคคล
2. สมรรถนะด้านสังคม
1. สมรรถนะส่วนบุคคล เป็นความสามารถในการบริหารจัดการกับตนเองได้อย่างดีประกอบด้วย
1.1 การตระหนักรู้ตนเอง (Self-awareness) ประกอบด้วยการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิด ความรู้สึกนั้น ๆ และคาดคะแนผลที่จะเกิดตามมาได้สามารถจัดการกับความรู้สึกภายในตนเองได้ มีความมั่นใจตนเอง เชื่อมั่นในความสามารถและความมีคุณค่าของคน ประเมินตนเองได้ตามความเป็นจริง

1.2 ความสามารถในการควบคุมตนเอง (Self-regulation) คือ การควบคุมอารมณ์ตนเองจัดการกับความโกรธ ความฉุนเฉียวต่างๆได้มีความสามารถในการปรับตัวจัดการกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นได้เปิดใจกว้างกับความ คิดและข้อมูลใหม่ ๆ อย่างมีความสุข

1.3 ความสามารถสร้างแรงจูงใจตนเองได้ (Motivation oneself)  หมายถึง มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่จะกระทำภารกิจ ต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ สามารถเผชิญปัญหาและอุปสรรคได้อย่างไม่ย่อท้อจนบรรลุเป้าหมาย มีความคิดริเริ่ม และพร้อมที่จะปฏิบัติตามที่โอกาสจะอำนวย

2. สมรรถนะทางด้านสังคม เป็นการสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น ประกอบด้วย
2.1 การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (em-pathy) หมายถึง การตระหนักรู้ถึงความรู้สึกความต้องการของผู้อื่น มีความเข้าใจผู้อื่น และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

2.2 มีทักษะด้านมนุษยสัมพนธ์ ประกอบด้วย ความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจบุคคลได้อย่างนุ่มนวล ถูกทิศทาง มีการสื่อความหมายที่ดีชัดเจนถูกต้องน่าเชื่อถือสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีได้สามารถบริหารความ ขัดแย้งได้ดีหาทางยุติข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมสร้างสายสัมพันธ์ในการทำงานเป็นทีมเพื่อปฏิบัติภารกิจให้บรรลุเป้าหมายได้

และในงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะผมก็ได้นำแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามาประยุกต์ใช้ด้วย ในเรื่องของการพัฒนาจากภายในตัวบุคคล ซึ่งก็ไปเกี่ยวข้องกับ EQ อีก โดยที่นักจิตวิทยาได้สรุปองค์ประกอบ ของ EQ มี 5 องค์ประกอบใหญ่ดังนี้
1. การตระหนักรู้ในตนเอง (self-awareness) เป็นความสามารถในการที่จะรับรู้และเข้าใจความรู้สึก นึกคิด และอารมณ์ของตนเองได้ตามความเป็นจริง สามารถประเมินตนเองได้ รู้จุดเด่นจุดด้อยของตน มีสติ เข้าตนเอง

2. การบริหารจัดการกับอารมณ์ตนเอง (managing emotion) เป็นความสามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเอง มีคุณธรรม มีความสามารถในการปรับตัว จัดการกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์

3. การจูงใจตนเอง (motivationone-self) มีความสามารถที่จะจูงใจตนเองนำอารมณ์ความรู้สึกของตนมาสร้างพลัง ในการกระทำสิ่งต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ มีคุณประโยชน์ มองโลกในแง่ดี

4. การรู้จักสังเกตความรู้สึกของผู้อื่น (empathy) หมายถึง ความสามารถที่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นมีความเห็น อกเห็นใจเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีจิตใจที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่น สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม

5. การดำเนินการด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (handing relationships) มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น รู้เท่าทันอารมณ์ของผู้อื่น ความสามารถนี้ประกอบไปด้วย การสื่อความหมายที่ดี และ การบริหารความขัดแย้ง

ในส่วนของ DQ จากข้อมูลของ สสค.ข้อมูลระบุด้วยว่า เด็กเยาวชนล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงต่อภัยในโลกไซเบอร์ เช่น ภาวะการเสพติดเทคโนโลยี การถูกกลั่นแกลงในโลกไซเบอร์ เป็นต้น พวกเขาสามารถซึมซับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จากโลกไซเบอร์ซึ่งส่งผลกระทบต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ฉะนั้นในขณะที่เด็กคนอื่นๆอาจจะสามารถต่อสู้กับความท้าทายในการแก้ปัญหาต่างๆได้ แต่เด็กกลุ่มเสี่ยง อาทิ กลุ่มที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เด็กชนกลุ่มน้อย หรือเด็กที่ประสบปัญหาความยากจนเหล่านี้ พวกเขาจะมีความเสี่ยงที่มากกว่า และยังเผชิญกับผลลัพธ์ที่รุนแรงยิ่งกว่าด้วย และแม้ว่า นักการศึกษาจะมีแนวโน้มที่คิดว่าเยาวชนเหล่านี้สามารถเลือกเรียนรู้ทักษะเหล่านี้ด้วยตนเอง หรือเรียนรู้ร่วมกับครอบครัว แต่เมื่อพิจารณาถึงช่องว่างระหว่างวัย จะพบว่าเด็กเยาวชนในปัจจุบันที่เรียกว่า ‘ยุค Z’ นั้นเป็นรุ่นแรกที่เติบโตขึ้นท่ามกลางยุคของมือถือ และโซเซียลมีเดียอย่างแท้จริง แล้วจะคาดหวังให้ผู้ปกครอง หรือกระทั่งครูผู้สอนเรียนรู้วิธีการที่จะสอนให้เด็กเยาวชนในยุคปัจจุบันมีทักษะและเท่าทันการใช้สื่อในยุคติจิตอลเหล่านี้ได้อย่างไร (http://www.qlf.or.th/Home/Contents/1137)

สำหรับข้อมูลจากเวิล์ดอิโคโนมิคฟอรั่มยังระบุถึงทักษะที่เด็กเยาวชนยุคใหม่ควรเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นพลเมืองในยุคดิจิตอลว่าต้องประกอบด้วย 8 ทักษะ ดังนี้

1) ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง (Digital Citizen Identity):
ความสามารถในการสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่างดีทั้งในโลกออนไลน์และโลกความจริง

2) ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management):
ความสามารถในการบริหารเวลาที่ใช้อุปกรณ์ยุคดิจิตอล และสามารถการทำงานที่หลากหลายในเวลาเดียวกันได้

3) ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ (Cyberbullying Management):
ความสามารถในการรับรู้ และรับมือการคุกคามข่มขู่บนโลกออนไลน์ได้อย่างชาญฉลาด

4) ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ (Cybersecurity Management):
ความสามารถในการป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกันการโจรกรรมข้อมูลหรือการโจมตีออนไลน์ได้

5) ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management):
มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น

6) ทักษะการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking):
ความสามารถในการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาดีและข้อมูลที่เข้าข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัยและน่าเชื่อถือได้

7) ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints):
ความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติของการใช้ชีวิตในโลกดิจิตอลว่าจะหลงเหลือร่อยรอยข้อมูลทิ้งไว้เสมอ รวมไปถึงเข้าใจผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อการดูแลสิ่งเหล่านี้อย่างมีความรับผิดชอบ และ

8) ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy):
ความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นบนโลกออนไลน์

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็มีความจำเป็นสำหรับผู้ประกอบอาชีพครู ที่ต้องทราบไว้เพื่อการนำไปพัฒนาเยาวชนในศตวรรษที่ 21 หรือเยาวชนยุค Z

หมายความว่าตอนนี้ต้องพัฒนาทั้ง IQ, EQ และ DQ ……Q

 

 

แสดงความคิดผ่าน Facebook